วันจันทร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2555

แนวคิดและทฤษฎี ของ Chester Barnard

สวัสดีคะ ท่านนักอ่านทุกท่าน เจอกันอีกครั้งนะคะ ครั้งนี้ข้าพเจ้าขอนำเสนอเรื่องเกี่ยวกับแนวคิดและทฤษฎี ซึ่งวันนี้เป็นแนวคิดและทฤษฎีของ Chester Barnard ท่านเป็นนักทฤษฎีองค์กรสำคัญบุคคลหนึ่ง    อยากทราบแล้วใช่มะคะว่าแนวคิดและทฤษฎีของท่านเป็นอย่างไรบ้าง

 

1. ชื่อทฤษฎี

          องค์การแบบไม่เป็นทางการ (Informal Organization)  
   แนวความคิด       
       Barnard เป็นนักทฤษฎีสมัยปัจจุบัน โดยเขาได้ศึกษาวิเคราะห์องค์การในเชิงระบบตั้งแต่ปี ค..1938 แล้วนำมาเขียนหนังสือชื่อ “The Functions of the Executive” เป็นหนังสือที่เกี่ยวกับการบริหารองค์การในสมัยปัจจุบัน โดยเห็นว่าองค์การเป็นระบบสังคมที่เปลี่ยนแปลงได้ ภายในระบบดังกล่าวจะมีความเกี่ยวพันที่ประสานกันโดยมีเป้าหมายของการตอบสนองความต้องการส่วนบุคคล และเห็นว่าบุคคลแต่ละคน องค์การ ผู้ขาย และลูกค้า ต่างก็เป็นส่วนหนึ่งของสภาพแวดล้อม
     หลักการ
       1.  เน้นความสัมพันธ์แบบไม่เป็นทางการ (Informal Organization)
     2.  มีการกระจายความพึงพอใจของบุคลากรในองค์การออกไปอย่างเท่าเทียมกัน (The contribution satisfaction equilibrium) : โดยเห็นว่าการสื่อสารในองค์การเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างดุลภาพของความต้องการระหว่างบุคคลกับองค์การ (Inducement) เพื่อโน้มน้าวให้บุคคลทำงานด้วยความต้องการขององค์การ ในจุดที่องค์การต้องสร้างความพึงพอใจแก่บุคคลในการทำงานด้วย
     3.  นักบริหารมีหน้าที่สำคัญ คือ
          -  ดูแลติดต่อประสานงานภายในองค์การ
          -  รักษาสมาชิกภายในและชักจูงสมาชิกใหม่
          -  กำหนดเป้าหมายขององค์การ และตีความเพื่อแสดงให้สมาชิกในองค์การได้รับรู้
          -  ใช้ศิลปะเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงาน
          -  ทำงานด้วยความรับผิดชอบ โดยใช้หลักของศีลธรรม

2.  ทฤษฎีองค์การไม่เป็นทางการ (Informal Organization)   

        เป็นเครื่องมือสำหรับการบริหารเชิงพฤติกรรม เป็นระบบความร่วมมือของมนุษย์ในการทำกิจกรรม โดยเน้นปัจจัยสำคัญด้านประสิทธิภาพและประสิทธิผล สร้างแรงจูงใจให้บุคลากรบรรลุเป้าหมายจะทำให้เกิดความร่วมมือจากบุคลากร โดยมุ่งองค์กรเป็นระบบการสื่อสาร ซึ่งประกอบด้วยดังนี้:   1. ความสำคัญของพฤติกรรมมนุษย์ (Importance of individual behavior),  2. ทฤษฎีการให้ความร่วมมือของ Barnard (Barnard theory of compliance) และ3. ทฤษฎีโครงสร้างขององค์การของ Barnard (Barnard theory of organization structure)
3. เป็นเครื่องมือที่นำไปใช้ได้อย่างเหมาะสม ทั้งในแง่ขององค์การที่เป็นทางการ (Formal Organization) และไม่เป็นทางการ (Informal Organization) ซึ่งผลงานที่สำคัญของ Barnard คือ Functions of the Executive 1938 จากตรรกะทางความคิดที่ว่า องค์การ คือ ระบบความร่วมมือ ดังนั้น ถ้าจะนำองค์การให้บรรลุเป้าประสงค์ ผู้บริหารจัดการจะต้องทำหน้าที่  3 ประการ คือ
        1.  การสร้างและการดำรงรักษาระบบการสื่อสา
        2.  สร้างความมั่นใจด้านการบริการจากบุคลากรผู้เป็นสมาชิกองค์การ
       3.  กำหนดจุดประสงค์และเป้าหมาขององค์การrganization structure)

4. ข้อดีและข้อเสีย

    ข้อดี

     1.     ก่อให้เกิดความร่วมมือ(cooperation) ในองค์การ
     2.      การทำงานในองค์การเกิดประสิทธิภาพ (Efficiency)
     3.     บุคลากรสามารถรับรู้ข้อมูลข่าวสารได้อย่างทั่วถึง (เน้นระบบการสื่อสาร)
     4.     องค์การที่ไม่เป็นทางการทำให้การบริหารองค์การมีความคล่องตัวและมีความยืดหยุ่น(Flexibility)
    5.     บุคลากรมีขวัญและกำลังใจในการทำงาน

  ข้อเสีย

     1.     องค์การไม่เป็นทางการทำให้ยากต่อการควบคุม (สายการบังคับบัญชาไม่ชัดเจน)
     2.     หากบุคลากรขาดทักษะด้านการสื่อสารส่งผลให้เกิดปัญหาต่อการปฏิบัติงาน

 5. ขั้นตอนในการจัดทำ

         ทฤษฎีของ Barnard เป็นทฤษฎีการบริหารจัดการเชิงพฤติกรรม  Barnard  ได้กล่าวถึงอำนาจหน้าที่ สิ่งที่กระตุ้นจูงใจ (Authority and incentives) เกี่ยวกับบริบทระบบการสื่อสารที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานสำคัญ คือ
      1.  ช่องทางการสื่อสารต้องกำหนดขอบเขตให้แน่นอน (The channels of communication Should be definite)
      2.   บุคลากรทุกคนต้องรู้ช่องทางการสื่อสาร ( Everyone should know of the channels of communication)
      3.  บุคลากรทุกคนต้องสามารถเข้าถึงช่องทางการสื่อสารที่เป็นทางการ (Everyone should have access to the formal channels of communication)
     4.  สายบังคับบัญชาการสื่อสารต้องสั้นและตรงให้มากที่สุด (Lines of communication should be as short and as direct as possible
     5.  บุคลากรต้องมีศักยภาพเพียงพอสำหรับการสื่อสาร (Competence of persons serving as communication centers should be adequate)
     6.  ต้องไม่มีอุปสรรคในสายบังคับบัญชาการสื่อสารเมื่อองค์การปฏิบัติงาน (The line of communication should not be interrupted when the organization is functioning)
    7. การสื่อสารทุกรูปแบบต้องเกิดผลน่าเชื่อถือ (Every communication should be authenticated)
       และความสำคัญการสื่อสารตามอำนาจหน้าที่ของผู้บริหารขึ้นอยู่กับบุคลากรผู้ใต้บังคับบัญชีมากกว่าผู้บังคับบัญชี สิ่งกระตุ้นจูงใจที่สำคัญในองค์กรคือ
 
                                    
 
 
6. การนำไปประยุกต์ใช้
            ทั้งองค์กรภาครัฐและเอกชน ที่ต้องการสร้างระบบความร่วมมือขึ้นระหว่างองค์การกับคน และองค์การกับสภาพแวดล้อม และจูงใจพนักงานให้ร่วมมือกันทำงาน รวมถึงการสร้างดุลยภาพระหว่างองค์การกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา



ขอบคุณที่มาของข้อมูล
คุณพีระวัฒน์  ชาติพฤกษพันธุ์


รวบรวมโดย
นางสาวรุ่งลักษมี รอดขำ
DBA 04 มหาวิทยาลัยศรีปทุม

 
                                        

 





























ก่อนนะคะ

Work BUS 701 By Rung.DBA 04. SPU

     สวัสดีคะ ท่านนักอ่านทุกท่าน วันนี้เป็นครั้งแรกสำหรับการเขียนบทความลง blogger เข้าข้าพเจ้า  ซึ่ง Blog นี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ที่ได้จากการเรียน ในรายวิชาทฤษฎีการจัดการเชิงกลยุทธ์ชั้นสูง   โดยครั้งนี้ผู้เขียนขอนำเสนอบทความเกี่ยวกับทฤษฎีของ Robert  H.Waterman JR--    โรเบิร์ต เอช วอเทอร์แมน จูเนียร์  ซึ่งเป็นทฤษฎีที่มีจุดเน้นในด้านการบริหารจัดการองค์กร   แต่ก่อนอื่นนั้น เรามารู้จักหน้าตาของท่านก่อนนะคะว่าหล่อแค่ไหน

 


    
ประวัติและความเป็นมา
        - 
Robert  H.Waterman JR -- โรเบิร์ต เอช วอเทอร์แมน จูเนียร์   
       - เป็นชาวอเมริกัน  จบกการศึกษา   ปริญญาตรีgeophysicsที่ Colorado School of Mines ปริญญาโท MBA ที่ Stanford University

ด้านการทำงาน
      Waterman JR   โด่งดังมาจากผลงานวิจัยที่เอามาเขียนเป็นหนังสือ In Search of   Excellence, เป็นนักพูด, เคยเป็นที่ปรึกษาให้กับ McKinsey & Company เป็นเวลา21 ปี  และมีบริษัทที่ปรึกษาของตนเองชื่อ The Waterman Group, Inc. Waterman ใช้คำว่า Adhocracy กับองค์กร ที่นับเป็นจุดเน้น   คำว่าองค์กรที่ถือหลักการ adhocracy จะเป็นองค์กรที่มีโครงสร้างเรียบง่าย ไม่สลับซับซ้อน  และท่านได้ให้แนวคิดว่า สำหรับยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงสูง องค์กรต้องสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงนั้นได้  สิ่งสำคัญที่องค์กรปัจจุบันต้องการมากคือการสร้างสภาพแวดล้อมที่เกื้อหนุนการใช้เทคนิคต่างๆในการแก้ปัญหา  ในหนังสือ Adhocracy: the Power to Change  ท่านได้ใช้ทักษะจากการเป็นที่ปรึกษาด้านการบริหารจัดการมากว่า 25 ปี นำเสนอวิธีการในการที่จะสร้างองค์กรแบบ adhocracy และผลักดันให้มันทำงานได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างทีมงานและการแยกกระจายหน่วยงานที่ใหญ่และซับซ้อนออกเป็นหน่วยย่อย  สร้างวัฒนธรรมให้มุ่งเน้นการแก้ปัญหาอย่างเป็นธรรมชาติ
        ในช่วงต้นปี 1977  Thomas J. Peters &Robert H.Waterman,JR  ค้นหาความเป็นเลิศ ในการดำเนินงาน  พบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการดำเนินงานหรือการบริหารจัดการองค์นั้น นอกจากกลยุทธ์และโครงสร้าง ยังมีปัจจัยอื่นที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน โดยมีองค์ประกอบทั้งหมด  7 ประการคือ
 



            ซึ่งตัวแปร 2 ตัวแรกคือโครงสร้างและกลยุทธ์ เปรียบเสมือนเป็นส่วนที่เรียกว่า ฮาร์ดแวร์ ซึ่งผู้จัดการในอดีตให้ความสนใจ ส่วนตัวแปรอีก 5 ตัวที่ค้นพบใหม่ในอดีตผู้จัดการมักไม่ให้ความสนใจมากนัก ซึ่งเปรียบเสมือน ซอฟท์แวร์ แมคคินซีย์ เรียกตัวแปรเหล่านี้ว่า กรอบ 7 – s
           โธมัส เจ ปีเตอร์ส (Thomas J. Peters) และโรเบิร์ต เอช วอเตอร์แมน จูเนียร์(Robert H.Waterman,Jr.) เขียนในหนังสือ In Search of Excellence.  ได้กล่าวถึงเชิงของการบริหารของบริษัทอเมริกันที่ประสบความสำเสร็จ ซึ่งประกอบไปด้วยขั้นตอน 8 ประการดังนี้ คือ:1.มุ่งเน้นการปฏิบัติ (a bias for action) ,2. มีความใกล้ชิดกับลูกค้า (close to the customer) ,3. มีความอิสระในการทำงานและความรู้สึกเป็นเจ้าของกิจการ (autonomy and entrepreneur-ship)  ,4. เพิ่มผลผลิตโดยอาศัยพนักงาน (productivity through people) ,5. สัมผัสกับงานอย่างใกล้ชิดและความเชื่อมั่นในคุณค่าเป็นแรงผลักดัน (hands-on and value driven),6. ทำแต่ธุรกิจที่มีความเชี่ยวชาญและเกี่ยวเนื่อง (stick to the  knitting), 7. รูปแบบเรียบง่ายธรรมดา พนักงานอำนวยการหรือส่วนกลางมีจำกัด (simple form and lean staff)  และ  8.เข้มงวดและผ่อนปรนในเวลาเดียวกัน (simultaneous loose-tight properties) (วีรชัย ตันติวีระวิทยา,2530)
        ข้อดีสำหรับทฤษฎีของ Robert H. Waterman, Jr.
                1.     องค์กรธุรกิจที่ได้ชื่อเสียง และการยอมรับ ตลอดจนความสัมพันธ์ที่ดีจากสังคม
                2.     หุ้นส่วนหรือนักลงทุน ได้รับผลประโยชน์จากราคาหุ้นที่ไม่ถูกกระทบ(กรณีที่บริษัทถูกประท้วง) หรือได้รับการจัดลำดับใน Dow Jones Sustainability Index (เฉพาะในประเทศสหรัฐอเมริกา)
                3.    พนักงานมีความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกัน
               4.     พนักงานมีทัศนคติที่ดีต่อองค์กร เกิดความสามัคคี และการสร้าง (Team Building) ขวัญ กำลังใจและความภาคภูมิใจในองค์กร และมีความตั้งใจในการทำงานมากขึ้น
               5.     ลูกค้ามีทัศนคติที่ดีต่อองค์กรและส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อ และความภักดีในสินค้า

         สำหรับการนำแนวคิดทฤษฎีนี้มาประยุกต์ใช้ได้หรือไม่นั้น ขอบอกว่าใช้ได้นะคะผู้เขียนขอยกตัวอย่างของสถานประกอบการและหน่วยงานในประเทศไทย เช่น บริษัทฯ ในกลุ่มสมบูรณ์ได้ให้โอกาสกับพนักงานในการพัฒนางานอาสาสมัครอย่างต่อเนื่องทุกๆ สองหรือสามเดือน โดยพนักงานเป็นผู้ค้นหาปัญหาที่อยู่รอบโรงงานและมาประชุมเพื่อเลือกสถานที่ในการทำกิจกรรมอาสา โดยที่บริษัทฯจะสนับสนุนค่ารถ ค่าอาหารและให้เวลากับ พนักงานไปทำกิจกรรมอาสาเหล่านั้น เป็นต้นกิจกรรมอาสาสมัครขององค์กรธุรกิจข้างต้น เกิดจากความร่วมมือระหว่าง ผู้บริหารและพนักงาน ภายใต้การสนับสนุนขององค์กรธุรกิจ มีงานวิจัยจำนวนมาก ที่ศึกษาถึงผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นกับผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายเมื่อทำกิจกรรมอาสาสมัคร พนักงาน นับตั้งแต่สังคมหรือชุมชนที่ได้รับการช่วยเหลือ

     ขอบคุณที่มาของข้อมูล                                        
    คุณสุทธิกันต์ อุตสาห์                                        

รวบรวมโดย
นางสาวรุ่งลักษมี รอดขำ
DBA 04 มหาวิทยาลัยศรีปทุม