วันจันทร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2555

แนวคิดและทฤษฎี ของ Chester Barnard

สวัสดีคะ ท่านนักอ่านทุกท่าน เจอกันอีกครั้งนะคะ ครั้งนี้ข้าพเจ้าขอนำเสนอเรื่องเกี่ยวกับแนวคิดและทฤษฎี ซึ่งวันนี้เป็นแนวคิดและทฤษฎีของ Chester Barnard ท่านเป็นนักทฤษฎีองค์กรสำคัญบุคคลหนึ่ง    อยากทราบแล้วใช่มะคะว่าแนวคิดและทฤษฎีของท่านเป็นอย่างไรบ้าง

 

1. ชื่อทฤษฎี

          องค์การแบบไม่เป็นทางการ (Informal Organization)  
   แนวความคิด       
       Barnard เป็นนักทฤษฎีสมัยปัจจุบัน โดยเขาได้ศึกษาวิเคราะห์องค์การในเชิงระบบตั้งแต่ปี ค..1938 แล้วนำมาเขียนหนังสือชื่อ “The Functions of the Executive” เป็นหนังสือที่เกี่ยวกับการบริหารองค์การในสมัยปัจจุบัน โดยเห็นว่าองค์การเป็นระบบสังคมที่เปลี่ยนแปลงได้ ภายในระบบดังกล่าวจะมีความเกี่ยวพันที่ประสานกันโดยมีเป้าหมายของการตอบสนองความต้องการส่วนบุคคล และเห็นว่าบุคคลแต่ละคน องค์การ ผู้ขาย และลูกค้า ต่างก็เป็นส่วนหนึ่งของสภาพแวดล้อม
     หลักการ
       1.  เน้นความสัมพันธ์แบบไม่เป็นทางการ (Informal Organization)
     2.  มีการกระจายความพึงพอใจของบุคลากรในองค์การออกไปอย่างเท่าเทียมกัน (The contribution satisfaction equilibrium) : โดยเห็นว่าการสื่อสารในองค์การเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างดุลภาพของความต้องการระหว่างบุคคลกับองค์การ (Inducement) เพื่อโน้มน้าวให้บุคคลทำงานด้วยความต้องการขององค์การ ในจุดที่องค์การต้องสร้างความพึงพอใจแก่บุคคลในการทำงานด้วย
     3.  นักบริหารมีหน้าที่สำคัญ คือ
          -  ดูแลติดต่อประสานงานภายในองค์การ
          -  รักษาสมาชิกภายในและชักจูงสมาชิกใหม่
          -  กำหนดเป้าหมายขององค์การ และตีความเพื่อแสดงให้สมาชิกในองค์การได้รับรู้
          -  ใช้ศิลปะเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงาน
          -  ทำงานด้วยความรับผิดชอบ โดยใช้หลักของศีลธรรม

2.  ทฤษฎีองค์การไม่เป็นทางการ (Informal Organization)   

        เป็นเครื่องมือสำหรับการบริหารเชิงพฤติกรรม เป็นระบบความร่วมมือของมนุษย์ในการทำกิจกรรม โดยเน้นปัจจัยสำคัญด้านประสิทธิภาพและประสิทธิผล สร้างแรงจูงใจให้บุคลากรบรรลุเป้าหมายจะทำให้เกิดความร่วมมือจากบุคลากร โดยมุ่งองค์กรเป็นระบบการสื่อสาร ซึ่งประกอบด้วยดังนี้:   1. ความสำคัญของพฤติกรรมมนุษย์ (Importance of individual behavior),  2. ทฤษฎีการให้ความร่วมมือของ Barnard (Barnard theory of compliance) และ3. ทฤษฎีโครงสร้างขององค์การของ Barnard (Barnard theory of organization structure)
3. เป็นเครื่องมือที่นำไปใช้ได้อย่างเหมาะสม ทั้งในแง่ขององค์การที่เป็นทางการ (Formal Organization) และไม่เป็นทางการ (Informal Organization) ซึ่งผลงานที่สำคัญของ Barnard คือ Functions of the Executive 1938 จากตรรกะทางความคิดที่ว่า องค์การ คือ ระบบความร่วมมือ ดังนั้น ถ้าจะนำองค์การให้บรรลุเป้าประสงค์ ผู้บริหารจัดการจะต้องทำหน้าที่  3 ประการ คือ
        1.  การสร้างและการดำรงรักษาระบบการสื่อสา
        2.  สร้างความมั่นใจด้านการบริการจากบุคลากรผู้เป็นสมาชิกองค์การ
       3.  กำหนดจุดประสงค์และเป้าหมาขององค์การrganization structure)

4. ข้อดีและข้อเสีย

    ข้อดี

     1.     ก่อให้เกิดความร่วมมือ(cooperation) ในองค์การ
     2.      การทำงานในองค์การเกิดประสิทธิภาพ (Efficiency)
     3.     บุคลากรสามารถรับรู้ข้อมูลข่าวสารได้อย่างทั่วถึง (เน้นระบบการสื่อสาร)
     4.     องค์การที่ไม่เป็นทางการทำให้การบริหารองค์การมีความคล่องตัวและมีความยืดหยุ่น(Flexibility)
    5.     บุคลากรมีขวัญและกำลังใจในการทำงาน

  ข้อเสีย

     1.     องค์การไม่เป็นทางการทำให้ยากต่อการควบคุม (สายการบังคับบัญชาไม่ชัดเจน)
     2.     หากบุคลากรขาดทักษะด้านการสื่อสารส่งผลให้เกิดปัญหาต่อการปฏิบัติงาน

 5. ขั้นตอนในการจัดทำ

         ทฤษฎีของ Barnard เป็นทฤษฎีการบริหารจัดการเชิงพฤติกรรม  Barnard  ได้กล่าวถึงอำนาจหน้าที่ สิ่งที่กระตุ้นจูงใจ (Authority and incentives) เกี่ยวกับบริบทระบบการสื่อสารที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานสำคัญ คือ
      1.  ช่องทางการสื่อสารต้องกำหนดขอบเขตให้แน่นอน (The channels of communication Should be definite)
      2.   บุคลากรทุกคนต้องรู้ช่องทางการสื่อสาร ( Everyone should know of the channels of communication)
      3.  บุคลากรทุกคนต้องสามารถเข้าถึงช่องทางการสื่อสารที่เป็นทางการ (Everyone should have access to the formal channels of communication)
     4.  สายบังคับบัญชาการสื่อสารต้องสั้นและตรงให้มากที่สุด (Lines of communication should be as short and as direct as possible
     5.  บุคลากรต้องมีศักยภาพเพียงพอสำหรับการสื่อสาร (Competence of persons serving as communication centers should be adequate)
     6.  ต้องไม่มีอุปสรรคในสายบังคับบัญชาการสื่อสารเมื่อองค์การปฏิบัติงาน (The line of communication should not be interrupted when the organization is functioning)
    7. การสื่อสารทุกรูปแบบต้องเกิดผลน่าเชื่อถือ (Every communication should be authenticated)
       และความสำคัญการสื่อสารตามอำนาจหน้าที่ของผู้บริหารขึ้นอยู่กับบุคลากรผู้ใต้บังคับบัญชีมากกว่าผู้บังคับบัญชี สิ่งกระตุ้นจูงใจที่สำคัญในองค์กรคือ
 
                                    
 
 
6. การนำไปประยุกต์ใช้
            ทั้งองค์กรภาครัฐและเอกชน ที่ต้องการสร้างระบบความร่วมมือขึ้นระหว่างองค์การกับคน และองค์การกับสภาพแวดล้อม และจูงใจพนักงานให้ร่วมมือกันทำงาน รวมถึงการสร้างดุลยภาพระหว่างองค์การกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา



ขอบคุณที่มาของข้อมูล
คุณพีระวัฒน์  ชาติพฤกษพันธุ์


รวบรวมโดย
นางสาวรุ่งลักษมี รอดขำ
DBA 04 มหาวิทยาลัยศรีปทุม

 
                                        

 





























ก่อนนะคะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น