วันจันทร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2555

Work BUS 701 By Rung.DBA 04. SPU

     สวัสดีคะ ท่านนักอ่านทุกท่าน วันนี้เป็นครั้งแรกสำหรับการเขียนบทความลง blogger เข้าข้าพเจ้า  ซึ่ง Blog นี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ที่ได้จากการเรียน ในรายวิชาทฤษฎีการจัดการเชิงกลยุทธ์ชั้นสูง   โดยครั้งนี้ผู้เขียนขอนำเสนอบทความเกี่ยวกับทฤษฎีของ Robert  H.Waterman JR--    โรเบิร์ต เอช วอเทอร์แมน จูเนียร์  ซึ่งเป็นทฤษฎีที่มีจุดเน้นในด้านการบริหารจัดการองค์กร   แต่ก่อนอื่นนั้น เรามารู้จักหน้าตาของท่านก่อนนะคะว่าหล่อแค่ไหน

 


    
ประวัติและความเป็นมา
        - 
Robert  H.Waterman JR -- โรเบิร์ต เอช วอเทอร์แมน จูเนียร์   
       - เป็นชาวอเมริกัน  จบกการศึกษา   ปริญญาตรีgeophysicsที่ Colorado School of Mines ปริญญาโท MBA ที่ Stanford University

ด้านการทำงาน
      Waterman JR   โด่งดังมาจากผลงานวิจัยที่เอามาเขียนเป็นหนังสือ In Search of   Excellence, เป็นนักพูด, เคยเป็นที่ปรึกษาให้กับ McKinsey & Company เป็นเวลา21 ปี  และมีบริษัทที่ปรึกษาของตนเองชื่อ The Waterman Group, Inc. Waterman ใช้คำว่า Adhocracy กับองค์กร ที่นับเป็นจุดเน้น   คำว่าองค์กรที่ถือหลักการ adhocracy จะเป็นองค์กรที่มีโครงสร้างเรียบง่าย ไม่สลับซับซ้อน  และท่านได้ให้แนวคิดว่า สำหรับยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงสูง องค์กรต้องสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงนั้นได้  สิ่งสำคัญที่องค์กรปัจจุบันต้องการมากคือการสร้างสภาพแวดล้อมที่เกื้อหนุนการใช้เทคนิคต่างๆในการแก้ปัญหา  ในหนังสือ Adhocracy: the Power to Change  ท่านได้ใช้ทักษะจากการเป็นที่ปรึกษาด้านการบริหารจัดการมากว่า 25 ปี นำเสนอวิธีการในการที่จะสร้างองค์กรแบบ adhocracy และผลักดันให้มันทำงานได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างทีมงานและการแยกกระจายหน่วยงานที่ใหญ่และซับซ้อนออกเป็นหน่วยย่อย  สร้างวัฒนธรรมให้มุ่งเน้นการแก้ปัญหาอย่างเป็นธรรมชาติ
        ในช่วงต้นปี 1977  Thomas J. Peters &Robert H.Waterman,JR  ค้นหาความเป็นเลิศ ในการดำเนินงาน  พบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการดำเนินงานหรือการบริหารจัดการองค์นั้น นอกจากกลยุทธ์และโครงสร้าง ยังมีปัจจัยอื่นที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน โดยมีองค์ประกอบทั้งหมด  7 ประการคือ
 



            ซึ่งตัวแปร 2 ตัวแรกคือโครงสร้างและกลยุทธ์ เปรียบเสมือนเป็นส่วนที่เรียกว่า ฮาร์ดแวร์ ซึ่งผู้จัดการในอดีตให้ความสนใจ ส่วนตัวแปรอีก 5 ตัวที่ค้นพบใหม่ในอดีตผู้จัดการมักไม่ให้ความสนใจมากนัก ซึ่งเปรียบเสมือน ซอฟท์แวร์ แมคคินซีย์ เรียกตัวแปรเหล่านี้ว่า กรอบ 7 – s
           โธมัส เจ ปีเตอร์ส (Thomas J. Peters) และโรเบิร์ต เอช วอเตอร์แมน จูเนียร์(Robert H.Waterman,Jr.) เขียนในหนังสือ In Search of Excellence.  ได้กล่าวถึงเชิงของการบริหารของบริษัทอเมริกันที่ประสบความสำเสร็จ ซึ่งประกอบไปด้วยขั้นตอน 8 ประการดังนี้ คือ:1.มุ่งเน้นการปฏิบัติ (a bias for action) ,2. มีความใกล้ชิดกับลูกค้า (close to the customer) ,3. มีความอิสระในการทำงานและความรู้สึกเป็นเจ้าของกิจการ (autonomy and entrepreneur-ship)  ,4. เพิ่มผลผลิตโดยอาศัยพนักงาน (productivity through people) ,5. สัมผัสกับงานอย่างใกล้ชิดและความเชื่อมั่นในคุณค่าเป็นแรงผลักดัน (hands-on and value driven),6. ทำแต่ธุรกิจที่มีความเชี่ยวชาญและเกี่ยวเนื่อง (stick to the  knitting), 7. รูปแบบเรียบง่ายธรรมดา พนักงานอำนวยการหรือส่วนกลางมีจำกัด (simple form and lean staff)  และ  8.เข้มงวดและผ่อนปรนในเวลาเดียวกัน (simultaneous loose-tight properties) (วีรชัย ตันติวีระวิทยา,2530)
        ข้อดีสำหรับทฤษฎีของ Robert H. Waterman, Jr.
                1.     องค์กรธุรกิจที่ได้ชื่อเสียง และการยอมรับ ตลอดจนความสัมพันธ์ที่ดีจากสังคม
                2.     หุ้นส่วนหรือนักลงทุน ได้รับผลประโยชน์จากราคาหุ้นที่ไม่ถูกกระทบ(กรณีที่บริษัทถูกประท้วง) หรือได้รับการจัดลำดับใน Dow Jones Sustainability Index (เฉพาะในประเทศสหรัฐอเมริกา)
                3.    พนักงานมีความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกัน
               4.     พนักงานมีทัศนคติที่ดีต่อองค์กร เกิดความสามัคคี และการสร้าง (Team Building) ขวัญ กำลังใจและความภาคภูมิใจในองค์กร และมีความตั้งใจในการทำงานมากขึ้น
               5.     ลูกค้ามีทัศนคติที่ดีต่อองค์กรและส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อ และความภักดีในสินค้า

         สำหรับการนำแนวคิดทฤษฎีนี้มาประยุกต์ใช้ได้หรือไม่นั้น ขอบอกว่าใช้ได้นะคะผู้เขียนขอยกตัวอย่างของสถานประกอบการและหน่วยงานในประเทศไทย เช่น บริษัทฯ ในกลุ่มสมบูรณ์ได้ให้โอกาสกับพนักงานในการพัฒนางานอาสาสมัครอย่างต่อเนื่องทุกๆ สองหรือสามเดือน โดยพนักงานเป็นผู้ค้นหาปัญหาที่อยู่รอบโรงงานและมาประชุมเพื่อเลือกสถานที่ในการทำกิจกรรมอาสา โดยที่บริษัทฯจะสนับสนุนค่ารถ ค่าอาหารและให้เวลากับ พนักงานไปทำกิจกรรมอาสาเหล่านั้น เป็นต้นกิจกรรมอาสาสมัครขององค์กรธุรกิจข้างต้น เกิดจากความร่วมมือระหว่าง ผู้บริหารและพนักงาน ภายใต้การสนับสนุนขององค์กรธุรกิจ มีงานวิจัยจำนวนมาก ที่ศึกษาถึงผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นกับผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายเมื่อทำกิจกรรมอาสาสมัคร พนักงาน นับตั้งแต่สังคมหรือชุมชนที่ได้รับการช่วยเหลือ

     ขอบคุณที่มาของข้อมูล                                        
    คุณสุทธิกันต์ อุตสาห์                                        

รวบรวมโดย
นางสาวรุ่งลักษมี รอดขำ
DBA 04 มหาวิทยาลัยศรีปทุม 





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น