วันพฤหัสบดีที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2555

Edward Damming


 Edward Damming

ผลงาน :  หนังสือ ชื่อ Out of the crisis  และ The new Economic for Industry, Government Education

1. หลักการ/แนวคิด/ประวัติความเป็นมา
       §  Dr. WilliamEdwards Deming ได้พัฒนาวงจร PDCA ขึ้นมาจากแนวคิดของ Dr. W.A. Shewhart ในระยะแรกรู้จัก วงจร PDCA ในนาม Shewhart Cycle จากนั้น Dr. William Edwards Deming ได้นำพัฒนาปรับใช้ในการควบคุมคุณภาพในวงการอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น จึงมีชื่อเรียกว่า Deming Cycle (สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น, 2552)
       §   Dr. William Edwards Deming มีความเชื่อว่า คุณภาพสามารถปรับปรุงได้ จึงเป็นแนวคิด ของการพัฒนาคุณภาพงานขั้นพื้นฐาน เป็นการกำหนดขั้นตอนการทำงานเพื่อสร้างระบบการผลิตให้สินค้ามีคุณภาพดี การให้การบริการดี หรือทำให้กระบวนการทำงานเป็นไปอย่างมีระบบโดยใช้ได้กับทุกๆสาขา วิชาชีพแม้กระทั่งการดำเนินชีวิตประจำวันของมนุษย์

2. เครื่องมือนี้คืออะไร/มีองค์ประกอบอะไร

PDCA หรือ Deming Cycle คือ วงจรการบริหารงานคุณภาพ ประกอบด้วย

             P (Plan) คือ   ขั้นตอนการวางแผน เพื่อเลือกปัญหา ตั้งเป้าหมาย การแก้ปัญหา และวางแผนแก้ปัญหา

            D (Do)   คือ   ขั้นตอนการดำเนินการแก้ไขปัญหาตามแนวทางที่วางไว้

            C (Check)   คือ   ขั้นตอนการตรวจสอบ และเปรียบเทียบผล

            A (Action)   คือ    การกำหนดเป็นมาตรฐานและปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น

 
3.เครื่องมือนี้ใช้เพื่ออะไร

เพื่อที่จะนำไปสู่การดำเนินการแก้ปัญหา ปรับปรุง และพัฒนางานให้สำเร็จลุล่วงไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้  คือ วงจรเดมมิ่ง (Deming Cycle)

4. ข้อดีและข้อเสียของ PDCA
    ข้อดี :
      §  การนำวงจร PDCA ไปใช้ ทำให้ผู้ปฏิบัติมีการวางแผน ป้องกันปัญหาที่ไม่ควรเกิด ช่วยลดความสับสนในการทำงาน ลดการใช้ทรัพยากรมากหรือน้อยเกินความพอดี ลดความสูญเสียในรูปแบบต่างๆ
      §  การทำงานที่มีการตรวจสอบเป็นระยะ ทำให้การปฏิบัติงานมีความรัดกุมขึ้น และแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็วก่อนจะลุกลาม
      §   การตรวจสอบที่นาไปสู่การแก้ไขปรับปรุง ทำให้ปัญหาที่เกิดขึ้นแล้วไม่เกิดซ้ำ หรือลดความรุนแรงของปัญหา ถือเป็นการนาความผิดพลาดมาใช้ให้เกิดประโยชน์
      §  การใช้ PDCA เพื่อการแก้ปัญหา ด้วยการตรวจสอบว่ามีอะไรบ้างที่เป็นปัญหา เมื่อหาปัญหาได้ ก็นำมาวางแผนเพื่อดำเนินการตามวงจร PDCA ต่อไป

5.ใช้อย่างไร (หรือจัดทำอย่างไร) การนำวงจร PDCA ไปใช้อย่างสัมฤทธิผล
      §  Plan : ผู้บริหารกำหนดแผนงานร่วมกับพนักงานทุกระดับ

      §  Do : พนักงานนำไปปฏิบัติตามแผนงานโดยได้รับความช่วยเหลือจากหัวหน้างาน

§  Check : ตรวจสอบเพื่อค้นหาปัญหาข้างเคียงและวิธีแก้ไขที่เหมาะสมที่สุด

§  Act : กำหนดวิธีแก้ไขเป็นมาตรฐานเพื่อให้พนักงานนำไปปฏิบัติได้สะดวก

6. มีใครนำเครื่องมือนี้ไปใช้บ้างและได้ผลสรุปอย่างไร
            ตัวอย่างการใช้วงจร PDCA ในการพัฒนาคุณ การนำ PDCA ไปใช้ของมหาวิทยาลัยพายัพ
มหาวิทยาลัยพายัพดำเนินการควบคุมคุณภาพในส่วนของปัจจัยนำเข้า (Input) กระบวนการผลิต (Process) ผลผลิต (Output) และผลสัมฤทธิ์จากการดำเนินงาน (Outcome) โดยมุ่งเน้นกระบวนการในวงจรคุณภาพของเดมมิ่ง (Quality Cycle of Deming’s Theory: PDCA)

ที่มา : สมประสงค์ เสนารัตน์ นิสิตปริญญาเอก สาขาวิจัยและประเมินผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

7.กรณีศึกษา
       ตัวอย่างการใช้วงจร PDCA ในการพัฒนาคุณภาพการทำ Kaizen ด้วยวงจร PDCA ของ TOYOTA
เป็นที่ยอมรับกันว่า TOYOTA มีประสิทธิภาพการผลิตสูงโดยบริษัท  โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทจำกัด ได้มีส่วนร่วมกับบริษัทแม่ ในประเทศญี่ปุ่นออกแบบรถยนต์มีการพัฒนาให้มีสายงานเทคนิคที่รับผิดชอบการออกแบบรถยนต์ด้วย โดยการปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่องเป็นส่วนหนึ่งใน TOYOTA WAY โดยแนวคิดว่า Kaizen เท่ากับ ContinuousImprovement คือ การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ภายใต้กระบวนการ Plan-Do-Check-Act (PDCA) คือ การดูปัญหา วางแผนหาวิธีแก้ปัญหา ทดลอง แล้วตรวจสอบว่าแก้ปัญหาได้หรือไม่ ถ้าเป็นวิธีที่ดีก็นำไปใช้ รถยนต์ที่ผลิตออกมาจะมีการทำ Kaizenกันทุกวัน คือปรับปรุงไปเรื่อย ๆ รายละเอียดชิ้นส่วนจะเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลา ภายหลังจากมีการทดลอง ทดสอบแล้ว พบว่าอะไรที่ทำให้ดีขึ้น ก็จะนำมาใช้ในการปรับปรุงงาน

 

ขอบคุณที่มาของข้อมูล
                                                            คุณอภิชา  กิจเชวงกุล

 

รวบรวมโดย
นางสาวรุ่งลักษมี   รอดขำ
DBA 04 มหาวิทยาลัยศรีปทุม


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น