วันพฤหัสบดีที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2555

Frederick Winslow Taylor


 
 
Frederick Winslow Taylor

ประวัติความเป็นมา

              Frederick Winslow Taylor (March 20, 1856 – March 21, 1915)  เป็นผู้ค้นพบการพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงาน จนได้รับยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งการจัดการเชิงวิทยาศาสตร์
              ผลงานพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงานของแรงงานที่มีชื่อเสียงของ Taylor คือการจัดการผลผลิตในการขนเหล็กของโรงงานหลอมเหล็ก โดยการค้นคว้าหาวิธีที่ดีที่สุดในการขนเหล็ก ทั้งในด้านความเหมาะสมของอุปกรณ์ที่ใช้ในการขนแต่ละครั้ง การฝึกอบรมวิธีการใช้อุปกรณ์ให้แก่คนงาน การแบ่งงานของคนงานออกเป็นส่วนๆให้ชัดเจน เพื่อให้ผู้รับผิดชอบงานแต่ละส่วนมีความชำนาญเฉพาะด้าน ตลอดจนการใช้วิธีการจ่ายค่าแรงเป็นรายชิ้น ส่งผลให้ผลผลิตเฉลี่ยในการขนเหล็กเพิ่มขึ้นเกือบ 4 เท่าตัว

การจัดการเชิงวิทยาศาสตร์ (Scientific Management)

      การจัดการแบบวิทยาศาสตร์นั้นหมายถึงการจัดการงานที่มีระบบโดยศึกษาเหตุและผลเพื่อหาวิธีการที่ดีที่สุดจากการทำงานนั้น  โดยอาศัยการเก็บข้อมูลและวิเคราะห์หาวิธีการที่ดีที่สุด

      ทั้งนี้เป็นการสร้างกระบวนการทำงานที่อยู่บนการตัดสินใจจากข้อมูลและการวิเคราะห์เชิงวิทยาศาสตร์ ต่างจากอดีตที่อาศัยประสบการณ์หรือRule of Thumb

องค์ประกอบของการจัดการเชิงวิทยาศาสตร์

1.พัฒนาหลักการแบบวิทยาศาสตร์ขึ้นมาใช้เป็นมาตรฐานในการทำงาน

2.ต้องมีการคัดเลือกคนตามหลักการวิทยาศาสตร์เพื่อให้ได้คนที่เหมาะสมกับงาน

3.ต้องพัฒนาบุคคลแต่ละคนให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด

4.สร้างความร่วมมือในการทำงานอย่างฉันท์มิตรให้เกิดขึ้นในองค์การ

เหตุผลที่ใช้การจัดการเชิงวิทยาศาสตร์

      มีกระบวนการในการพัฒนาประสิทธิภาพของการทำงาน โดยคิดและวิเคราะห์จากการเก็บข้อมูลจริง ทำให้สามารถออกแบบกระบวนการทำงานที่มีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม เช่น การศึกษาวิธีการเคลื่อนไหวของคนงานและเวลาที่ใช้ในการปฏิบัติ (time and motion study)

      เนื่องจากกระบวนการวิทยาศาสตร์มีขั้นมีตอนที่ชัดเจนและสามารถพิสูจน์ได้จึงนำมาสู่การสร้างมาตรฐานการทำงาน

      การพัฒนาประสิทธิภาพของกระบวนการทำงานทำสามารถเพิ่มปริมาณการผลิตได้โดยใช้ทรัพยากรเท่าเดิมหรือลดลง

ข้อดีและข้อเสียของการจัดการเชิงวิทยาศาสตร์

    ข้อดี

      เป็นการประยุกต์ใช้หลักทางด้านวิทยาศาสตร์เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพของการทำงานให้ได้สูงสุด

      หลักทางวิทยาศาสตร์มีความแน่นอนและสามารถพิสูจน์ได้

      มีการจัดหมวดหมู่งานให้มีความเป็นระเบียบและแบ่งคนตามประเภทของงานตามความถนัด

      การจ่ายค่าแรงเป็นต่อชิ้นงานเป็นการกระตุ้นให้คนงานต้องขยันทำงานเพื่อให้ได้ค่าจ้างเพิ่มขึ้น

   ข้อเสีย

      มองภาพของคนเสมือนหนึ่งเครื่องมือ ที่ต้องทำงานได้ตามเป้าที่วางไว้เสมอ

      ศึกษาเฉพาะปัจจัยที่สามารถวัดได้และพิสูจน์ได้ ทั้งๆที่ยังมีปัจจัยอื่นที่สำคัญซึ่งมีผลกระทบต่อประสิทธิภาพของงานเหมือนกัน เพียงแต่วัดได้ยาก

      ถูกมองว่าเป็นการกดขี่แรงงาน และการใช้เครื่องมือจับเวลาอาจจะทำให้คนงานรู้สึกเหมือนโดนจับผิดและไม่อยากทำงาน

      ทำให้ยึดติดกับกระบวนการมากเกินไปทำให้ไม่สามารถแก้ปัญหาใหม่ๆที่ยังไม่เคยศึกษา

References
            Management : from the Executive ‘s Viewpoint , ดร.สาคร สุขศรีวงศ์ , ISBN 9748513386
            http://en.wikipedia.org/wiki/Frederick_Winslow_Taylor
            http://www.slideshare.net/wiraja/ss-8385209

การนำไปใช้
         ตามทฤษฎี "การจัดการอย่างมีหลักการ (Scientific Management)" นี้ Taylor เห็นว่าสามารถนำไปใช้ได้กับขั้นตอนการปฏิบัติงานทุกประเภท อย่างไรก็ตามในทางปฏิบัติความคิดเกี่ยวกับวิทยาการจัดการของ Taylor ได้รับการต่อต้านจากหลายฝ่าย เช่น นักบริหารระดับผู้จัดการ หัวหน้างานที่ไม่มีความรู้/ ความคิดที่ Taylor ให้การยกย่องผู้เชี่ยวชาญพิเศษ (Specialist) ส่วนสหภาพแรงงานก็ต่อต้านเพราะรู้สึกว่า Taylor มองคนเหมือนหุ่นยนต์

1 ความคิดเห็น: