วันพฤหัสบดีที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2555

แนวคิดและทฤษฎีของ Henri Fayol



Henri Fayol


ความเป็นมา
         Henry Fayol เป็นวิศวกรชาวฝรั่งเศสี่มีชีวิตอยู่ในช่วงปี ค.ศ.1841-1925 เขาเกิดในครอบครัวที่ประกอบธุรกิจขนาดเล็กแห่งหนึ่งในประเทศฝรั่งเศส และจบการศึกษาจากโรงเรียน National School of Mines at St.Etience ในช่วงปี ค.ศ.1860-1866 เขาได้ทำงานเป็นวิศวกร และก้าวมาทำงานเกี่ยวกับการบริหารจัดการโดยเป็นผู้บริหารระดับสูงของกลุ่มบริษัทขนาดใหญ่ Fayol ได้มองการบริหารจากทัศนะของผู้เชี่ยวชาญว่าในองค์กรควรมีการทำงานร่วมกัน Fayol มีชีวิตที่ยืนยาว ผลงานของเขาไม่ได้ตีพิมพ์ จนกระทั่งเขาอายุได้ 75 ปี เนื่องจากต้องการหลีกเลี่ยงปัญหาที่เกิดขึ้นจากการขัดแย้งกับแนวคิดของ Taylor ซึ่งในงานเขียนของ Fayol นั้น ได้เขียนเกี่ยวกับความสำคัญของการบริหารที่ทำให้สามารถปฏิบัติงานในองค์การได้ Fayol ได้กำหนดว่า ทฤษฎีเป็นการรวบรวมวิธีการและกระบวนการ เพื่อให้มีประสบการณ์มากขึ้น
 
หลักการบริหาร 14 ข้อ
    1. การมีเอกภาพในการบังคับบัญชา (Unity of Command)
    2. การมีเอกภาพในการสั่งการ (Unity of Direction)
    3. การแบ่งานกันทำ (Division of Work)
    4. การรวมอำนาจไว้ที่ส่วนกลาง (Centralization)
    5. อำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ (Authority and Responsibility)
    6. ความเสมอภาค (Equity)
    7. สายการบังคับบัญชา (Scalar Chain)
    8. การให้ผลประโยชน์ตอบแทน (Remuneration)
    9. การมีระเบียบข้อบังคับ (Order)
   10. ความมีระเบียบวินัย (Discipline)
   11. ความคิดริเริ่ม (Initiative)
   12. ผลประโยชน์ของบุคคลควรจะเป็นรองจากผลประโยชน์ส่วนรวม(Sulxordination of Individual Interest to the General Personnel)
   13. ความมั่นคงในหน้าที่การงาน (Stability of Lenore of Personnel)
  14. ความสามัคคีเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน (Esprit de Crope)


เครื่องมือนี้คืออะไร/มีองค์ประกอบอะไร



            Henri Fayol ได้สรุปเป็นทฤษฎีว่า หากวันหนึ่งคุณต้องอยู่ในสภาวะที่ต้องใช้คนจำนวนมาก ๆ ใน
การทำงานแล้วละก็หัวใจของการบริหารจัดการเพื่อให้งานสำเร็จตามเป้าหมายนั้น มีองค์ประกอบด้วย 5
ปัจจัย คือ POCCC
       1. Planning
       2. Organizing
       3. Commanding
       4. Coordinating
       5. Controliing

เครื่องมือนี้ใช้เพื่ออะไร
         จากหลักการด้านการจัดการของ FAYOL มีลักษณะเป็นการอำนวยความสะดวกแก่ผู้จัดการในองค์การเป็นอย่างมาก Fayol ได้
กล่าวว่า หลักการของเขาไม่ใช่เป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้ขึ้นอยู่กับการนำไปใช้ประโยชน์ในงานต่าง ๆ หลักการของ fAYOL มีลักษณะ
เป็นสากลซึ่งต่อมาได้มีการอธิบายขยายความต่อโดย Shelden Urwick และ barnard


ข้อดี/ข้อเสีย ของเครื่องมือ
    ข้อดี
      1. องค์การมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นจากที่มีการปรับปรุงกระบวนการบริหาร
      2. สามารถพัฒนาผลผลิตของคนงานให้ดีขึ้นได้
      3. สามารถนำมาใช้ในการบริหารงานวิชาการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
    ข้อเสีย
       1. มุ่งเน้นผู้ปฏิบัติงานในระดับผู้บังคับบัญชาเป็นส่วนใหญ่



การนำไปใช้ :
       ทฤษฎีการบริหารของ Fayol ยอมรับองค์การที่เป็นทางการ โดยใช้ประโยชน์จากการแบ่งงานกันทำ (Specialization) และเน้นถึงความ
สำคัญที่ว่าอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบต้องเท่ากัน โดย Fayol ระบุว่าเป้าหมายที่สำคัญขององค์การ คือ ความเป็นระเบียบ ความมั่นคง
ความคิดริเริ่ม และความสามัคคี นักทฤษฎีการบริหารจะต้องเป็นนักปฏิบัติอย่างแท้จริง ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับนักทฤษฎีระบบองค์การ
ขนาดใหญ่แล้ว สิ่งที่พวกเขาสนใจและให้ความสำคัญ คือหลักการและแนวคิดสำหรับการประสบความสำเร็จขององค์การซึ่งเป็นทางการ

ขอบคุณที่มาของข้อมูล
คุณชูเกียรติ เนื้อไม้
 
 
รวบรวมโดย
นางสาวรุ่งลักษมี  รอดขำ
DBA 04 มหาวิทยาลัยศรีปทุม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น