วันพฤหัสบดีที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2555

Richard Johnsom


Richard Johnson

ชื่อ : จอห์นสัน ริชาร์ด ()  แนวความคิด : ทฤษฎีเชิงระบบ  Systems theory

1.  แนวคิด
        แนวคิดหลัก  (key concepts)    องค์การถูกพิจารณาเป็นระบบเปิด
         ² การบริหารจัดการต้องมีปฏิกิริยาสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับ ปัจจัยนำเข้าไปสู่ผลผลิต
         ² วัตถุประสงค์ขององค์การจะต้องมุ่งที่ประสิทธิภาพและประสิทธิผล
         ² องค์การจะประกอบด้วยระบบย่อยจำนวนมาก
         ² มีหลายช่องทางที่จะได้ผลลัพธ์เหมือนกัน
         ² การรวมตัวจะมีขนาดใหญ่กว่าผลรวมของแต่ละชิ้นส่วน

2. เครื่องมือนี้คืออะไร มีองค์ประกอบอะไร
           ทฤษฎีเชิงระบบ  (stems theory )  เป็นวิธีการจัดการที่ผสมผสานหน้าที่การจัดการกิจกรรมการจัดการและการวางแผนกลเชิงยุทธ์เข้าด้วยกัน  โดยพิจารณาถึงสภาพแวดล้อมภายนอก องค์การจะต้อง มีปฏิสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมเพื่อความอยู่รอด  ซึ่งมีองค์ประกอบดังต่อไปนี้
            ปัจจัยนำเข้า(inputs) ทรัพยากรทางกายภาพ ทรัพยากรทางการเงิน   ทรัพยากรมนุษย์  ทรัพยากรข้อมูล
          กระบวนการแปรสภาพ     (transformation)     หน้าที่การจัดการ    การปฏิบัติด้านเทคโนโลยี่   กิจกรรมการผลิต
           ผลผลิต(outputs) สินค้าและบริการ กำไรขาดทุน พฤติกรรมพนักงาน

3.  เครื่องมือนี้ใช้เพื่ออะไร
            ประโยชน์ของทฤษฎีนี้  ช่วยให้สามารถมองภาพรวมขององค์การได้ โดยอย่างยิ่ง การมองเห็นปฎิสัมพันธ์ ระหว่างระบบย่อย ต่าง ๆ  นอกจากนี้ยัง ชึ้ให้เห็นว่า การปรับตัวขององค์การที่มีต่อสิ่งแวดล้อม

4.  ข้อดี/ข้อเสียของเครื่องมือ
           ข้อดี
               ทำให้ยอมรับความสำคัญของความสัมพันธ์ระหว่างองค์การกับสภาพแวดล้อมภายนอก 
           ข้อเสีย
               ไม่สามารถให้คำแนะนำที่เฉพาะเจาะจงในหน้าที่และงานของผู้บริหาร 

5. ใช้อย่างไร  /จัดทำอย่างไร
            ระบบโดยทั่วไปประกอบด้วย  2  ระบบได้แก่
              1. ระบบปิด  (closed systems) หมายถึง  ระบบที่เน้นเฉพาะกิจกรรมภายในที่เกี่ยวข้องกับตนเองเป็นหลักแต่ให้ความสนใจหรือเกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อม  (Environment) น้อยมากหรือแทบจะไม่ให้ความสนใจเลย ในกรณีของระบบปิด  สภาพแวดล้อมจะไม่มีผลต่อระบบ  แต่ในความจริงแล้วระบบองค์การ (สังคมหรืออุตสาหกรรม) จะเป็นระบบเปิดเสียส่วนใหญ่

 2. ระบบเปิด (open  systems) หมายถึง ระบบที่มีลักษณะเน้นการมีปฏิกิริยาสัมพันธ์กับ
สภาพแวดล้อมภายนอกระบบ  ซึ่งจะมีปฏิกิริยาต่อเนื่องกับสภาพแวดล้อม  ระบบเปิดนี้จะมีโครงสร้างที่มีความยืดหยุดสูงและมีขั้นตอนการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง  ดังนั้นความแตกต่างระหว่างขอบเขตของระบบและสภาพแวดล้อมจึงขึ้นอยู่กับการตัดสินใจดำเนินงานของผู้ทำการตัดสินใจ  สำหรับระบบเปิดนี้ขอบเขตระบบจะขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ของผู้ปฏิบัติงานเป็นสำคัญ

 
 เน้นความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างและสิ่งแวดล้อม

6.  มีใครนำเครื่องมือนี้ไปใช้บ้างและได้ผลสรุปอย่างไร
            1. สร้างความเชื่อมั่นและความพึงพอใจในคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา
            2. สร้างการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานของทุกฝ่าย  ทั้งครู  บุคลากรที่เกี่ยวข้อง  ผู้ปกครอง  ชุมชน  และสังคม
           3. สร้างระบบการดำเนินงานที่มีคุณภาพในสถานศึกษา  และติดตามตรวจสอบการดำเนินงานได้
           4. สร้างความสามารถในการจัดการศึกษาของสถานศึกษา  ทั้งผู้บริหาร  ครู อาจารย์  และ บุคลากรที่เกี่ยวข้องให้เป็นที่เชื่อถือและศรัทธาของผู้ปกครอง     ชุมชน  และสังคม
           5. สร้างคุณภาพให้ได้ตามมาตรฐาน  และยกระดับมาตรฐานคุณภาพให้สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

7. กรณีศึกษา
        กรณีศึกษาระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนสาธารณะ   


 

ขอบคุณที่มาของข้อมูล

คุณพรรณเพ็ญ  สิทธิพัฒนา

 

รวบรวมโดย

นางสาวรุ่งลักษมี   รอดขำ

DBA 04 มหาวิทยาลัยศรีปทุม


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น