วันจันทร์ที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2555

แนวคิดทฤษฎี ของFranklin D.Roosevelt


ทฤษฎี Franklin D.Roosevelt  (FDR)

ทฤษฎีการจัดการภาครัฐ

1.  ประวัติความเป็นมา

 เป็นบุคคลแห่งศตวรรษที่ 20  เกิดเมื่อวันที่  13 มกราคม  ค.ศ. 1882 และเสียชีวิต เมื่อวันที่ 12 เมษายน  ค.ศ. 1945  สำหรับประวัติการทำงาน ค.ศ. 1910 – 1912 ดำรงตำแหน่งวุฒิสภาของรัฐนิวยอร์ก , ค.ศ. 1913 – 1920ดำรงแหน่ง ผู้ช่วยเลขานุการกองทัพเรือ , ค.ศ. 1928 – 1930 ดำรงตำแหน่งผู้ว่าการรัฐนิวยอร์ค  และ ค.ศ. 1933 – 1945 ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีคนที่ 32 แห่งสหรัฐอเมริกา และได้รับการเลือกตั้งเข้าดำรงตำแหน่งถึง 4 วาระ มากที่สุดในประวัติศาสตร์สหรัฐอเมริกา หลังจากเกิดสงครามโลกครั้งที่1 ส่งผลให้เกิดวิกฤติเศรษฐกิจ     ( The Great Depression) และหลังจาก Roosevelt ได้เข้าดำรงตำแหน่งเป็นประธานาธิบดี ค.ศ. 1932 และได้เข้ามาแก้ปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจที่รุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ของสหรัฐอเมริกาที่เรียกว่า The Great Depression ดังกล่าว  โดยการเสนอนโยบาย “สู่ความหวังใหม่” (New Deal) ความหมายของ Deal ใกล้เคียงกับสภาพการเมืองในยุคนั้น คือ “an arrangement for mutual advantage” หรือ การจัดการที่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ทุกฝายและเป็นการจัดการใหม่ที่ให้ความหวังแก่คน

2. นโยบาย New Deal ใช้เพื่อ

v ปฏิรูประบบเศรษฐกิจและสังคมในช่วงสภาวะวิฤกติเศรษฐกิจตกต่ำ เพื่อแก้ไขปัญหาด้านเศรษฐกิจและสภาพสังคมในขณะนั้นโดยทำให้แรงงานกับเจ้าของอุตสาหกรรมอยู่ด้วยกันอย่างกลมเกลียว

v ให้ประชาชนทุกชนชั้นอยู่ด้วยกันอย่างกลมเกลียวและสันติ เช่น ให้ชาวผิวขาวและชาวแอฟริกันอเมริกันอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติ และกลุ่มคนแรงงานกับเจ้าของอุตสาหรรมอยู่ด้วยกันอย่างกลมเกลียว

v ผลักดันให้เกิดองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศที่เรียกว่าองค์กรสหประชาติ

   
3. องค์ประกอบของ New Deal
3Rs
   Relief
         •จัดตั้งหน่วยงานต่างเพื่อการ   บรรเทาทุกข์แก่ประชาชนอย่างทั่วถึงและทุกชนชนอย่างโปร่งใส
    Recovery
         •ฟื้นฟูฐานะทางการเงินและตลาดหุ้น
        ฟื้นฟูอุตสาหกรรมและแรงงาน
        ฟื้นฟูด้านการเกษตร
   Refrom
      •ปฏิรูปเศรฐกิจ
     ปฏิบัติการเกษตร
     ปฏิรูปแรงงาน

4.  ข้อดีและข้อเสียของ New Deal
            ข้อดี       เป็นมาตรการที่ช่วยสร้างงานให้ประชาชนและผันเงินเข้าสู่ชนบท, มีความยืดหยุ่นในการบริหารจัดการ,  เป็นการจัดการที่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ทุกฝ่าย และเป็นการจัดการใหม่ที่ให้ความหวังแก่คนทั้งประเทศให้สู้กับสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ
            ข้อเสีย   เป็นการรวมศูนย์อำนาจเข้าสู้รัฐบาลกลางมากเกินไปและนโยบายหลายๆโปรแกรมไม่ใช่
แนวทางของอเมริกันตามกรอบของรัฐธรรมนูญ (www.pracob.blogspot.com/2010/04/blog-post_7577.html)

5.  ขั้นตอนของการจัดทำ

v วิเคราะห์ตามสภาวะเศรษฐกิจ โดยเร่งดำเนินการจัดทำในกรณีเร่งด่วนเป็นอันดับแรก

v  ประชุมคณะรัฐบาล และที่ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญแต่ละด้าน

v กำหนดนโยบายการบริหารจัดการตามวาระเร่งด่วน

v นำเสนอนโยบายต่างๆ เสนอต่อสภา

v นำนโยบายสู่ภาคปฏิบัติตามรัฐต่างๆ จากส่วนกลาง สู่ ท้องถิ่น อย่างทั่วถึงและโปร่งใส

6.  ใครนำเครื่องมือนี้ไปใช้บ้าง

ผู้นำของโลกหลายคน อาทิ นายกอร์ดอน บราวน์ นายกรัฐมนตรีของอังกฤษ ประธานาธิบดีของฝรั่งเศส นายนิโคลัส ซาร์โคซี่ นายบัน คี มูน เลขาธิการสหประชาชาติ รวมทั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา นายบารัค โอบามา กรีนนิวดีลหรือสร้างงานใหม่ด้วยธุรกิจเขียว สร้างระบบเศรษฐกิจใหม่ โดยลดการพึ่งพาพลังงานน้ำมันหันไปใช้พลังงานสะอาดช่วยสร้างอุตสาหกรรมและฟื้นฟูเศรษฐกิจโลก (www.arip.co.th)

7. กรณีศึกษา

การบริหารการศึกษาในระดับสถานศึกษาในสหราชอาณาจักรwww.mc.ac.th/ebook/pdf/4210019/pdf.pdf

วันศุกร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2555

Michael Hammer


Michael Hammer

 
ประวัติความเป็นมา
           Michael Hammer เกิดเมื่อปี ค.ศ. 1948 and James Champy ผู้มีแนวคิดกับการ Re-Engineering กล่าวคือวงการธุรกิจในอเมริกา กำลังตกอยู่ในภาวะวิกฤตที่ต้องแสวงหาวิธีการใหม่ ที่พลิกฟื้นสถานการณ์โดยเร็วที่สุด ซึ่งมีพลังผลักดัน 3 ประการคือ (1) ลูกค้า (Customer) (2) การแข่งขัน (Competitions) และ (3) การเปลี่ยนแปลง (Change) ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงแบบถอนรากถอนโคนในหมู่นักบริหารปัจจุบัน ตลอดจนได้มีการเปลี่ยนกรอบเค้าโครงของความคิด ( Paradigm )จากที่เคยเฉื่อยชา ต้องเคลื่อนไหวไม่หยุดนิ่งทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมและโลกในยุคโลกาภิวัฒน์ ( Globalization ) ความหมายและแนวคิด ดร.รุ่ง แก้วแดง ได้อธิบายความหมายของคำว่า การรื้อปรับระบบไว้ในหนังสือ รีเอ็นจิเนียริ่งระบบราชการไทย ตามแนวคิดของ Hammer กับ Champy และหนังสือ Reengineering the Corporation ของ แฮมเบอร์กับแชมปี แปลโดยปริทรรศน์ พันธุบรรยงก์ ว่าการรื้อปรับระบบ หมายถึงการพิจารณาหลักการพื้นฐานของธุรกิจและการคิดหลักการขึ้นใหม่ ชนิดถอนรากถอนโคน ปรับกระบวนการธุรกิจใหม่เพื่อให้บรรลุถึงผลลัพธ์ของการปรับปรุงอันยิ่งใหญ่ คือ เป้าหมายขององค์กร โดยใช้ตัวชี้วัดผลการปฏิบัติงานที่ทันสมัยและสำคัญที่สุดใน 4 ด้าน คือ ต้นทุน คุณภาพ การบริการ และความเร็ว โดยมีคำศัพท์ที่เป็นหัวใจสำคัญของรื้อปรับระบบ 4 คำศัทพ์คือ

การรื้อปรับระบบ

    • Rethink

    • Redesign

    • Retools

    • Rehumaneering

 

รวบรวมโดย
นางสาวรุ่งลักษมี  รอดขำ
DBA 04 มหาวิทยาลัยศรีปทุม

Peter F.Drucker


Peter F.Drucker

 
               Peter F. Drucker ปรมาจารย์ทางด้านการจัดการเสียชีวิตไปเมื่อ 11พฤศจิกายน 2548 ด้วยวัย 95 ปีตลอดระยะเวลาการใช้ชีวิตเกือบทศวรรษของ Drucker ได้รับการยอมรับจากสังคมในฐานะผู้นำเสนอความรู้ใหม่ให้กับโลกธุรกิจและด้านการจัดการออกมาเป็นระยะๆ ซึ่งครั้งใดที่เขาออกมาแสดงบทบาทมักจะได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากทั้งนักบริหารธุรกิจในภาคเอกชน ภาครัฐ และรวมทั้งนักบริหารจากองค์กรที่ไม่หวังผลกำไร และนำแนวคิดนั้นมาวางแผนบริหารธุรกิจของตนเอง ชื่อเสียงของ Drucker เริ่มเป็นที่รู้จักในวงกว้างตั้งแต่เขาตีพิมพ์หนังสือเล่มแรก The End of Economic Man, The Origin of Totalitarianism ในปี 1939 ซึ่งเป็นหนังสือเล่มโปรดของ Winston Churchill อดีตนายกรัฐมนตรีอังกฤษ และ 6ปีจากนั้นเริ่มสร้างชื่อให้เป็นที่ยอมรับในโลกธุรกิจและการจัดการจากหนังสือเรื่อง Concept of the Corporation และโด่งดังสุดๆกับ The Practice of management หนังสือการจัดการองค์กรสมัยใหม่ที่ยังนำมาประยุกต์ใช้กับองค์กรต่างๆได้จนกระทั่งปัจจุบัน
       18 Famous Quotes by Peter F. Drucker “Quality in a product or service is not what the supplier puts in. It is what the customer gets out and is willing to pay for. A product is not quality because it is hard to make and costs a lot of money, as manufacturers typically believe. This is incompetence. Customers pay only for what is of use to them and gives them value. Nothing else constitutes quality.” Quality Quotes   “Commitment in the face of conflict produces character.” Commitment Quotes  “Efficiency is doing things right; effectiveness is doing the right things.” Efficiency Quotes  “Mentor: Someone whose hindsight can become your foresight” Foresight Quotes


เรียบเรียงโดย
นางสาวรุ่งลักษมี  รอดขำ
DBA 04 มหาวิทยาลัยศรีปทุม

Thomas J.Peters


Thomas J.Peters
 
แนวคิดนักบริหารกับมิติการจัดการ : Thomas J. Peters ผลงานที่ยอดเยี่ยม คือ Insearch of Excellence
คุณสมบัติที่ทำให้องค์กรเป็นเลิศ 8 ประการ
     1. การมุ่งเน้นที่การปฏิบัติ (Bias for Action)
     2. การมีความใกล้ชิดกับลูกค้า (Close to the Customer)
     3. การให้ความอิสระในการทำงานและสร้างความรู้สึกเป็นเจ้าของกิจการ (Autonomy and Entrepreneurship)
     4. การเพิ่มผลผลิตโดยพนักงาน (Productivity Through People)
    5. การติดตามงานอย่างใกล้ชิดและการใช้ค่านิยมเป็นแรงผลักดัน (Hands-on and Value Driven)
    6. การทำแต่ธุรกิจที่มีความเชี่ยวชาญ (Stick to the Knitting)
    7. การมีรูปแบบที่เรียบง่ายและใช้พนักงานอย่างมีประสิทธิภา (Simple Form and Lean Staff)
    8. การเข้มงวดและผ่อนปรนในเวลาเดียวกัน (Simultaneous Loose tight Properties)
องค์ประกอบองค์การแห่งความเป็นเลิศ

 
 
 
 
 
 
 
รวบรวมโดย
นางสาวรุ่งลักษมี  รอดขำ
DBA 04 มหาวิทยาลัยศรีปทุม
 
 
 
 
 
 
 
 

James Thompson


James Thompson

 
แนวคิดและทฤษฎีการจัดการ
      ทฤษฎีเชิงระบบ (systems theory) (ปี 1960) เป็นวิธีการจัดการที่ผสมผสานหน้าที่ในการจัดการกิจกรรมการจัดการและการวางแผนเชิงกลยุทธ์เข้าด้วยกัน โดยพิจารณาถึงสภาพแวดล้อมภายนอก ทรรศนะที่อธิบายถึงผลกระทบจากสภาพแวดล้อมภายนอกที่มีต่อองค์การถูกเสนอโดย แดเนียล แคทซ์  โรเบิร์ต คาห์น (Robert Kahn) และเจมส์ ธอมป์สัน (James Thompson) นักทฤษฎีเหล่านี้มีมุมมองว่าองค์การเป็นระบบเปิด (open system)ซึ่งถือเป็นระบบที่องค์การได้นำทรัพยากรจากสภาพแวดล้อมภายนอกมาแปรสภาพเป็นสินค้าและบริการ เพื่อส่งกลับไปยังสภาพแวดล้อมในที่ซึ่งสินค้าและบริการได้ขายให้กับลูกค้า นอกจากนั้นผู้นำทางทฤษฎีเชิงระบบเช่น ริชาร์ด จอร์นสัน (Richard Johnson) ฟรีมอนด์ แคสท์ (Fremont Kast)และเจมส์ โรเซนซ์เวจ (James Rosenweig)
แนวคิดเกี่ยวกับองค์การของ James D.Thompson
<!--[if !supportLists]--> <!--[endif]-->องค์การเป็นระบบเปิดที่ทำงานในสภาพที่ ไม่แน่นอน
<!--[if !supportLists]--> <!--[endif]--> องค์การพยายามดำเนินงานโดยใช้ความมีเหตุผล เพื่อเป็นการสร้างแน่นอนในการทำงาน
<!--[if !supportLists]--> <!--[endif]-->องค์การจะต้องคอยปรับตัวเพื่อให้ทำงานได้ดีที่สุดในสภาพแวดล้อมที่ไม่แน่นอน
องค์การจะจัดการกับความไม่แน่นอนโดยการแบ่งหน้าที่ออกเป็น 3 ส่วน คือ
- ส่วนเทคนิค
- ส่วนจัดการ
- ส่วนสถาบัน
 
 
 
รวบรวมโดย
 
นางสาวรุ่งลักษมี  รอดขำ
 
DBA 04 มหาวิทยาลัยศรีปทุม

Robert E. Wood




Robert E. Wood
             Robert E. Wood ต่างพยายามสร้างเครื่องมือที่ใช้เป็นกฎเกณฑ์ทางการจัดการ ที่เป็นรูปธรรมขึ้นมา แต่ช่วงนั้นได้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ขึ้นเสียก่อนในระหว่างสงครามโลกหน่วยงานทางทหารต้องเผชิญ กับปัญหาที่มีความซับซ้อน ทั้งในด้านการจัดระเบียบประชาชนและการส่งกำลังบำรุง
การจัดการเชิงประมาณ(Quantitative management)

         เพื่อช่วยในการตัดสินใจ โดยใช้คณิตศาสตร์ สถิติและสารสนเทศเป็นเครื่องมือเพื่อแก้ปัญหาทางการจัดการ หลังสงความโลกการจัดการเชิงปริมาณได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายมากขึ้นในแวดวงธุรกิจ อย่างไรก็ตามการใช้การจัดการเชิงปริมาณยังคงใช้ได้เฉพาะปัญหาที่มีลักษณะเป็นแบบที่มีโครงสร้าง(structured problem) ทฤษฎีวิทยาการจัดการ เป็นวิธีการสมัยใหม่ในด้านการจัดการ ที่เน้นการใช้เทคนิคเชิงปริมาณอย่างเข้มงวด เพื่อช่วยให้ผู้จัดการทำการใช้ทรัพยากรองค์การ เพื่อผลิตผลิตภัณฑ์และบริการให้มากที่สุด ในส่วนประกอบที่สำคัญของทฤษฎีวิทยาการจัดการ คือการขยายการจัดการแบบวิทยาศาสตร์ให้มีความทันสมัย โดยการนำวิธีการเชิงปริมาณเพื่อวัดส่วนประสมของคนงานและงาน เพื่อให้ทีประสิทธิภาพสูงขึ้น
         สำหรับส่วนประกอบที่สำคัญของทฤษฎีวิทยาการจัดการ คือ การขยายการจัดการแบบวิทยาศาสตร์ ให้มีความทันสมัย โดยการนำวิธีการเชิงปริมาณเพื่อวัดส่วนประสมของคนงานและงาน เพื่อให้ทีประสิทธิภาพสูงขึ้น แบ่งเป็น 4 กลุ่ม
          1. การจัดการเชิงปริมาณ (Quantitative management) โดยใช้เทคนิคคณิตศาสตร์ เช่น โปรแกรมเชิงเส้นตรงและไม่ใช่เส้นตรง (linear and nonlinear programming) ตัวแบบ (modeling) แบบจำลองสถานการณ์ (simulation) และทฤษฎีแถวคอย (queuing theory) เป็นต้น ทั้งนี้ เพื่อช่วยในการตัดสินใจของผู้จัดการ
         2. การจัดการการดำเนินการผลิต (Operations management) ซึ่งประกอบด้วย เทคนิคต่าง ๆ ที่ผู้จัดการสามารถนำไปใช้ในการวิเคราะห์ลักษณะระบบการผลิตขององค์การเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ เช่น แบบจำลองสินค้าคงคลัง(inventory model) และแบบจำลองเครือข่าย(network model) เพื่อปรับปรุงการตัดสินใจปัญหาการจัดจำหน่ายและการดำเนินการ
         3. การจัดการคุณภาพโดยรวม (Total Quality Management:TQMเป็นการจัดการคุณภาพของหน่วยงานในองค์การทั้งหมด ซึ่งประกอบได้ด้วยฝ่ายต่างๆ ที่ผู้จัดการสามารถนำเทคนิคต่าง ๆ ไปใช้ในการวิเคราะห์ระบบการผลิตในองค์การเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ เช่นแบบจำลองสินค้าคงคลัง(inventory model) และแบบจำลองเครือข่าย(network model)เพื่อปรับปรุงการตัดสินใจปัญหาการจัดจำหน่าย โดยะเน้นการวิเคราะห์ปัจจัยนำเข้าในกระบวนการเพื่อแปรสภาพให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพของผลิตภัณฑ์
         4. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (management information systems) เป็นวิธีการที่ช่วยให้ผู้จัดการออกแบบระบบสารสนเทศ เพื่อจัดสารสนเทศเกี่ยวกับเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นทั้งภายในและภายนอกองค์การ เพื่อประกอบการตัดสินใจให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิผล ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการยังช่วยให้ผู้จัดการและบุคลากรในระดับต่างๆ ได้รับสารสนเทศที่จำเป็นต่อการนำไปใช้ประโยชน์และมีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจอย่างไรก็ตามในการนำทฤษฎีวิทยาการจัดการไปใช้ประโยชน์นั้น ในปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศ(information technology)ได้เข้ามามีส่วนในการปรับปรุงคุณภาพการตัดสินใจและเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลขององค์การได้เป็นอย่างดี และถือว่าเป็นส่วนสำคัญในการเพิ่มความได้เปรียบในการแข่งขันให้กับองค์การ


รวบรวมโดย
 
นางสาวรุ่งลักษมี  รอดขำ
 
DBA 04 มหาวิทยาลัยศรีปทุม

วันพฤหัสบดีที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2555

Frederick Herzberg








Frederick  Herzberg
Two Factor Theory :ทฤษฏีสองปัจจัย
 
 1.หลักการ/แนวคิด/ประวัติความเป็นมา
    Ø ชื่อ Frederick  Herzberg
  Øสัญชาติ  :  ชาวอเมริกัน 
   Øวันเกิด   :  18 เมษายน  1923    
  Ø การศึกษา  :   ปริญญาเอกจิตวิทยา
  Øจุดเน้น  :  หลักการจูงใจ หรือ Motivation          
  Øเสียชีวิต  :  19 มกราคม 2000
*   ได้คิดค้นทฤษฎีการจูงใจในการทำงาน ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางในวงการบริหาร ชื่อทฤษฎีของ Herzberg มีชื่อเรียกแตกต่างกันออกไป คือ
      *   motivation-maintenance theory”
      *   หรือ“dual factor theory” หรือ “the motivation-hygiene theory”
    
        ได้รับแรงบันดาลใจเรื่องการจูงใจ( Motivation)  จากการที่ได้มีโอกาสพูดคุยกับชาว
เยอรมันที่อาศัยอยู่ในบริเวณใกล้ ๆ ฐาน  Dachau concentration camp  และสังคมในละแวกนั้นเป็นกลุ่มคนที่มีระดับการจูงใจสูงมาก
 หลักและแนวคิด
      q ในการเริ่มต้นค้นคว้าเพื่อสร้างทฤษฎี Herzberg ได้ดำเนินการสัมภาษณ์นักวิศวกรและนักบัญชี
      q ซึ่งจุดมุ่งหมายของการค้นคว้าเพื่อศึกษาทัศนคติที่เกี่ยวกับงานเพื่อที่จะให้มีหนทางเพิ่มผลผลิตลด
การขาดงาน และสร้างความสัมพันธ์อันดีในการทำงาน เพื่อประโยชน์ทั่วไปสำหรับทุกๆคนก็คือความเข้าใจเกี่ยวกับอิทธิพลต่างๆที่จะมีส่วนช่วยในการปรับปรุงขวัญ และกำลังใจ ที่จะส่งผลให้ทุกคนมีความสุขกายสบายใจและมีความพึงพอใจมากยิ่งขึ้น
          Herzberg ศึกษาเกี่ยวกับปัจจัย ที่มีผลต่อการทำงานของบุคคลกรในองค์ โดยศึกษา ถึงทรรศนะ
คติของบุคคลที่มีต่อการทำงานเพื่อหาทางที่จะลดความไม่พอในในการทำงาน เพื่อที่ทำให้คนงานมีความรู้สึกที่ดีในการที่จะ พยายามเสริมสร้างผลผลิตของงานให้มากขึ้น   เขาพบว่าปัจจัยที่มีผลกระทบต่องานออกเป็น 2 กลุ่ม คือ
         1.ปัจจัยจูงใจ     (Motivation Factor)   เป็นปัจจัยกระตุ้นให้คนทำงาน โดยเกี่ยวข้องกับ
เหตุการณ์ที่ดีที่จะเกิดขึ้น กับพนักงาน อันจะทำให้พนักงานมีความพึงพอใจเกี่ยวกับกับงานที่ทำ
         2.  ปัจจัยค้ำจุน (Maintenance Factor)  เป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ที่จะสร้างความไม่พอใจในการทำงานให้กับพนักงาน ชึ่งจะเป็นตัวสกัดกั้นไม่ให้เกิดแรงจูงใจในการทำงานขึ้นได้ หรือเป็นหัวข้อกำหนดเบื้องต้นที่จะป้องกันมิให้คนไม่พอใจในงานที่ทำอยู่
 2.  เครื่องนี้คืออะไร / มีองค์ประกอบอะไร
                ปัจจัยจูงใจ ( Motivation Factors)  คือ ปัจจัยที่ก่อให้เกิดแรงจูงใจให้คนทำงานอย่าง    มีความสุข และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความรู้สึก ซึ่งถือว่าเป็น  ปัจจัยภายใน (Intrinsic) ”
               ปัจจัยสุขอนามัย (Hygiene Factors) คือ  ปัจจัยที่ก่อให้เกิดความพอใจในการทำงานแต่ยังไม่พอที่จะนำไปใช้ในการจูงใจ ถือว่าเป็น   ปัจจัยภายนอก (Extrinsic)
            ปัจจัยจูงใจ(Motivational Factors)
     *   ค่าตอบแทนและผลประโยชน์
                *    นโยบายบริษัทและการบริหาร                            
                *    ความสัมพันธ์ในหมู่พนักงานด้วยกัน           
                *    สภาพแวดล้อมทางกายภาพในการทำงาน                 
                *    การควบคุมดูแลงาน
                *    สถานภาพ
                *    ความมั่นคงของงาน
            ปัจจัยสุขอนามัย(Hygiene Factors)
     *   ความสำเร็จ
                 *    การได้รับการยอมรับ
                 *    ตัวงานที่ทำ
                 *    ความรับผิดชอบ
                 *    การได้รับการเลื่อนตำแหน่ง
                 *    ความเจริญก้าวหน้า
 3.ข้อดี/ข้อเสีย
         ข้อดี
            v เป็นทฤษฎีที่สร้างขวัญและกำลังใจในการทำงานเป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับงานโดยตรงเพื่อจูงใจให้คนชอบและรักงานปฏิบัติ เป็นการกระตุ้นให้เกิดความพึงพอใจให้แก่บุคคลในองค์การ  ให้ปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
 v ปัจจัยที่สามารถสนองตอบความต้องการภายในของบุคคล
        ข้อเสีย
            เป็นทฤษฎีที่ใช้ได้กับกลุ่มอาชีพที่มีฐานะตำแหน่งสูง เช่น วิศวกรหรือนักบัญชี กรณีการนำไปใช้กับพนักงานระดับต่ำลงไปหรือพนักงานสตรี และ ณ ระดับของพนักงานประจำวัน จะไม่ค่อยได้ผลลัพธ์ที่น่าพึ่งพอใจ
4. เครื่องมือนี้ใช้เพื่ออะไร
งานที่สร้างแรงจูงใจที่แท้จริง ตามแนวคิดของ Herzberg
             งานที่ดีจะต้องมีความท้าทายเพื่อกระตุ้นให้พนักงานได้ใช้ความสามารถ
             พนักงานที่มีความสามารถสูงขึ้นจะต้องได้รับงานที่มีความรับผิดชอบสูงขึ้นด้วยเช่นกัน
             หากงานที่มีอยู่ไม่เหมาะสมกับความสามารถของพนักงานจะต้องมีการพิจารณาโดยเร่งด้วยหรือหาพนักงานมีความสามารถต่ำมาทำงานแทน  แต่หากพนักงานไม่ปฏิบัติงานอย่างเต็มความสามารถนั้น แสดงว่าเกิดปัญหาด้านการจูงใจ
5.ใช้อย่างไร(หรือจัดทำอย่างไร)
         ปัจจัยสุขอนามัย(Hygiene Factors)
               *   ความสำเร็จ
               *    การได้รับการยอมรับ
               *    ตัวงานที่ทำ
              *    ความรับผิดชอบ
              *    การได้รับการเลื่อนตำแหน่ง
              *    ความเจริญก้าวหน้า
  ปัจจัยจูงใจ (Motivational Factors)
            *    ค่าตอบแทนและผลประโยชน์
            *    นโยบายบริษัทและการบริหาร                           
            *    ความสัมพันธ์ในหมู่พนักงานด้วยกัน           
            *    สภาพแวดล้อมทางกายภาพในการทำงาน                 
           *    การควบคุมดูแลงาน
           *    สถานภาพ ความมั่นคงของงาน
 6.ใช้อย่างไร(หรือจัดทำอย่างไร)
           โดยสรุป Herzberg ได้ให้ความเข้าใจว่า แรงจูงใจเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นมาจากแต่คนและจะมิใช่ขึ้นอยู่
กับผู้บริหารโดยตรง และปัจจัยที่ใช้ในการบำรุงจิตใจนั้นอย่างดีที่สุดก็คือ จะสามารถช่วยขจัดความไม่พอใจต่างๆได้ แต่จะไม่สามารถสร้างความพึ่งพอใจได้ ดังนั้น ในกระบวนการจูงใจที่ต้องการสร้างให้เกิดแรงจูงใจที่ดี จึงจำเป็นต้องจัดและกำหนดปัจจัยต่างๆทั้งสองกลุ่ม คือ ทั้งปัจจัยที่ใช้บำรุงจิตใจ (สภาพแวดล้อม) และปัจจัยที่ใช้จูงใจได้ (ของงานที่ทำ) ทั้งสองอย่างพร้อมกัน
7.มีใครนำเครื่องมือไปใช้บ้าง และได้ผลอย่างไร
             ชูยศ ศรีวรขันธ์  (2552)  นำ แนวคิดของ Frederick Herzberg ในการทำวิจัย เรื่องปัจจัยแรงจูงใจต่อผลการปฏิบัติงาน:กรณีศึกษา ขององค์การบริหารส่วนตาบล เขตอาเภอเมือง จ.นครราชสีมา 
          ผลการวิจัยพบว่า
           บุคลากรในท้องถิ่นมีความพึงพอใจในการทางานมากจะส่งผลให้ประสิทธิภาพการทางานขององค์กรเพิ่มขึ้น แต่จะไม่พึงพอใจในการได้รับเงินค่าตอบอื่นเป็นกรณีพิเศษ เท่าที่ควร และได้สะท้อนให้เห็นปัญหาการได้รับเงินค่าตอบแทนอื่นเป็นกรณีพิเศษ(โบนัส) ที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม และการขาดมาตรฐานในการประเมินผลงานขององค์การบริหารส่วนตาบลที่เกี่ยวกับวิธีการและขั้นตอนต่างๆต้องได้รับการปรับปรุงและแก้ไขในส่วนที่บกพร่องและทาให้เกิดปัญหาเพื่อแก้ไขและป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นอีกในอนาคต
 7.  กรณีศึกษา
              บริษัท ตันไม่ตัน จำกัด
              Bathroom Design
              บริษัท เอ.พี. ฮอนด้า จำกัด


 


ขอบคุณที่มาของข้อมูล
                                                         คุณพรรณเพ็ญ สิทธิพัฒนา




รวบรวมโดย
นางสาวรุ่งลักษมี รอดขำ
DBA 04 มหาวิทยาลัยศรีปทุม