Luther Gulick and his work “POSDCORB
ประวัติความเป็นมา
Luther
Halsey Gulick เกิดเมื่อวันที่ 17 มกราคม
1892 ได้รับปริญญาเอกจาก Columbia University ได้รับการแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษาของประธานาธิบดี
Franklin D. Roosevelt เพื่อปรับโครงสร้างการบริหารของสำนักงานประธานาธิบดีสหรัฐฯ
นอกจากนั้นในช่วงปี 1954-1956 เขายังได้เป็นคณะผู้บริหารของ New
York City อีกด้วย Gulick ได้ให้นิยาม
POSDCORB ซึ่งย่อมาจาก Planning, Organizing, Staffing, Directing,
Coordinating, Reporting and Budgeting
องค์ประกอบของ POSDCORB
O-Organizing หมายถึง การจัดองค์การ ได้แก่
การแบ่งงาน การกำหนดส่วนงาน โครงสร้างขององค์การ การกำหนด ตำแหน่งงานต่างๆ
พร้อมกับอำนาจหน้าที่
S-Staffing หมายถึง
การจัดการเกี่ยวกับตัวบุคคลในองค์การ นับตั้งแต่ การจัดอัตรากำลัง การสรรหา
การคัดเลือก การบรรจุแต่งตั้งบุคคล การเลื่อนขั้น เลื่อนตำแหน่ง เงินเดือน
การโยกย้าย การพัฒนาบุคคลในองค์การเรื่อยไปจนกระทั่งการให้บุคคลพ้นจากตำแหน่ง
D-Directing หมายถึง การอำนวยงาน
ได้แก่การทำหน้าที่ในการตัดสินใจ วินิจฉัยสั่งการ การออกคำสั่ง
มอบหมายภารกิจการงานไปให้ผู้ใต้บังคับบัญชา
หลังจากนั้นต้องใช้ภาวะของการเป็นผู้นำในการกระตุ้นจูงใจคนให้ยอมรับในผู้บริหาร
Co- Coordinating หมายถึง การประสานงาน ได้แก่
การทำหน้าที่ในการประสานกิจกรรมต่างๆ ที่ได้มีการแบ่งแยกออกไปเป็นส่วนงานย่อยๆ
เพื่อให้ทุกภาคส่วนสามารถทำงานประสานสอดคล้องกัน และมุ่งไปสู่เป้าหมายเดียวกันR- Reporting หมายถึง การรายงาน ได้แก่การทำหน้าที่ในการรับฟังรายงานผลการฏิบัติงานของบุคคลและหน่วยงานที่เป็นผู้ใต้บังคับบัญชาได้รายงานมา การรายงานถือเป็นมาตราการในการตรวจสอบและควบคุมงานด้วย
B- Budgeting หมายถึง การงบประมาณ ได้แก่ หน้าที่ที่เกี่ยวกับการจัดทำงบประมาณ การจัดทำบัญชีการใช้จ่ายเงินและการตรวจสอบควบคุมด้านการเงิน การบัญชีของหน่วยงานนั่นเอง
ประโยชน์ของ
POSDCORB
POSDCORB
เป็นองค์ประกอบของหน้าที่ของผู้บริหารที่ต้องการบรรลุวัตถุประสงค์ นอกจากนั้นยังใช้ในมิติของการจัดการองค์กรที่มีขนาดใหญ่ได้
เนื่องจากผู้บริหารเพียงคนเดียวอาจไม่มีกำลังหรือเวลามากพอในการจัดการตามหน้าที่ทั้ง
7 ด้านได้ทั้งหมด
ข้อดีและข้อเสีย
ข้อดี 1. การแบ่งหน้าที่ โดยใช้หลักคุณธรรมในการแบ่งงานเป็นสำคัญที่จะทำให้เกิดประสิทธิภาพในองค์การ นอกจากนี้ยังมุ่งเน้นถึงหลักความชำนาญเฉพาะด้าน
2. มุ่งเน้นถึงหลักการควบคุม โดยการออกกฎระเบียบและการควบคุมบุคลากรอย่างใกล้ชิด เพื่อให้บุคลากรสามารถปฏิบัติงานได้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
ข้อเสีย
1. ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในองค์การลดลงและมาตรฐานนั้น ถูกนำมาใช้เป็นเป้าหมายแทนที่จะใช้กลไกช่วยในการบรรลุเป้าหมาย
2. จะมีผู้ใต้บังคับบัญชาจำนวนจำกัด เนื่องจากเวลาและขอบเขตความสามารถในการควบคุมดูแลของผู้บังคับบัญชามีอยู่อย่างจำกัด
การนำไปใช้ประโยชน์
1.
หลักสกาลาร์ หรือสายการบังคับบัญชา 2. หลักเอกภาพในการบังคับบัญชา
3. หลักช่วงการบังคับบัญชา
4. หลักการเน้นที่จุดสำคัญ
5. หลักการจัดแบ่งแผนกงาน
6. หลักการเกี่ยวกับหน่วยงานหลักและหน่วยอำนวยการ 7. หลักการเกี่ยวกับศูนย์กำไร
กรณีศึกษา
: การนำไปใช้ในการบริหารสถานศึกษา
ในส่วนของการบริหารงานส่วนใหญ่มักจะเป็นหน้าที่ที่สำคัญของผู้บริหารของโรงเรียน
หลักในการบริหาร ลำดับแรกครูต้องมีการวางแผน (Planning) เช่นในรายวิชานั้น
ครูจะสอนเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องใดบ้าง มีการจัดให้ในห้องเรียนนั้น (Organizing)
หาหัวหน้าห้องหรือตัวแทนของนักเรียนในแต่ละคาบ (Staffing) เพื่อเป็นผู้ช่วยครู (Directing) ให้คอยควบคุมดูแลนักเรียนคนอื่นๆ ช่วยเช็คชื่อ ประสานงาน (Coordinating) ระหว่างครูกับนักเรียน ติดตามเรื่องงานและเรื่องกิจกรรมอื่นๆ
ที่ครูอาจจะมีการสั่งไปให้ (Reporting) การที่ครูสามารถใช้นักเรียนเป็นผู้ช่วยจะทำให้ผูกมัดทางใจกับเพื่อนมากกว่า
ทำให้นักเรียนที่ทำงานอย่างตั้งใจประกอบการงานเต็มความสามารถและทำด้วยความกระตือรือร้น
ขอบคุณที่มาของข้อมูล
คุณสุรเดช จองวรรณศิริ
รวบรวมโดย
นางสาวรุ่งลักษมี รอดขำ
DBA 04 มหาวิทยาลัยศรีปทุม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น