Max Weber
ประวัติความเป็นมา
ชีวิตและการทำงาน Max
Weber
อยู่ในช่วงปี ค.ศ.1864-1920 ซึ่งเป็นเหตุการณ์สำคัญที่มีการค้นพบทฤษฎีของ
Henri
Fayol และ Frederick W. Taylor
ด้วย Max Weber เกิดในประเทศเยอรมันและอยู่ในตระกูลที่ร่ำรวย
ครอบครัวเกี่ยวข้องกับการเมือง เป็นที่นับถือในสังคม Weber สนใจในด้านสังคมวิทยา ศาสนา เศรษฐศาสตร์ และการเมือง ในช่วงที่
Weber เขียนหนังสือ The Protestant
Ethic and the Spirit of Capitalism เขามีโอกาสเข้าไปในประเทศสหรัฐอเมริกา และได้เห็นระบบนายทุน ในปี ค.ศ.1904
Weber
ได้รับเชิญให้ร่วมประชุมที่ Saint Louis
ซึ่งเป็นเรื่องของสังคมวิทยาของศาสนา (Sociology of
religion) และต่อมาได้นำเสนอแนวคิดการจัดองค์การ ที่เรียกว่า Bureaucracy
แมคซ์ เวเบอร์ เป็นนักทฤษฎีองค์การชาวเอยรมัน
ซึ่งอธิบายทฤษฎีเกี่ยวกับการครอบงำ (Domination)
โดยเขาเห็นว่าผู้นำหรือนักบริหารจะบริหารงานให้มีประสิทธิภาพได้
ขึ้นอยู่กับการที่ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชายินยอมที่จะปฏิบัติตาม
และจะต้องมีระบบการบริหารมาดำเนินการให้คำสั่งมีผลให้บังคับได้
1. อำนาจการปกครองบังคับบัญชา
(Domination)
-
การปกครองหรือการครอบงำโดยอาศัยจารีตประเพณี- การปกครองหรือการครอบงำโดยใช้บารมี
- การปกครองหรือการครอบงำโดยวิธีกฎหมายและการมีเหตุผล
2. ลักษณะ
- มีการควบคุมกันโดยการแบ่งลำดับชั้นของการบังคับบัญชา
- การปฏิบัติงานทุกขั้นตอนเป็นไปตามกฎ/ระเบียบ
- การจัดคนที่มีความรู้ความชำนาญเข้าด้วยกัน
- การบริหารงานโดยไม่อาศัยเรื่องส่วนตัว
- เน้นการยึดถือความสามารถทางวิชาการ
- การเน้นความสำคัญของการพัฒนาบุคคล
- แยกผลประโยชน์ส่วนตัวออกจากตัวองค์การ
ข้อดีและข้อเสีย
ข้อดี...
1. องค์การมีประสิทธิภาพในการทำงาน (Efficiency)
2. มีความเสมอภาค (Equity)
ข้อเสีย
1. เกิดความแปลกแยก (Aienation) ต่อองค์การ งาน และกฎระเบียบ
2. เกิดความเฉื่อยชา ไม่มีประสิทธิภาพ
3. เกิดความล่าช้า (Red Tape) เพราะต้องเน้นกฎ/ระเบียบและการติดต่อสืื่อสารแบบเป็นทางการ
4. ความไม่คล่องตัว (Rigidity) เนื่องจากเน้นการควบคุมจากเบื้องบน
5. เน้นความสำคัญของกฎ/ ระเบียบ และข้อบังคับมากเกินไป จนมองข้ามความสำคัญในส่วนอื่น
6. แบ่งแยกงานกันตามความถนัดมากจนเกินไป
7. ขาดการประสานงาน
8. การต่อต้านการเปลี่ยนแปลง
ขั้นตอนการจัดทำ
การนำไปใช้ :
ทฤษฎีระบบราชการถือเป็นหลักการสำคัญที่ใช้กับหน่วยงานในภาครัฐทั้งหมด ตั้งแต่สมัยราชการที่ ๕ จนถึงปัจจุบัน ตลอดจนองค์กรในภาคเอกชน
ที่ต้องการความชัดเจนในการบริหารจัดการ ซึ่งมีลักษณะสำคัญขององค์กรดังนี้ ตัวอย่างการใช้ ได้แก่ การกำหนดแผนปฏิบัติราชการกองทัพเรือตามแนว
ทางของ ก.พ.ร. (สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ)
การนำแผนกลยุทธ์ไปปฏิบัติ
กรณีศึกษา
การกำหนดแผนปฏิบัติราชการกองทัพเรือตามแนวทางของ ก.พ.ร. (www.navy.mi.th/navy_admin/1.0/document/manual.pdf )
รวบรวมโดย :
นางสาวรุ่งลักษมี รอดขำ
DBA 04 มหาวิทยาลัยศรีปทุม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น