วันจันทร์ที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2555

แนวคิดทฤษฎี ของFranklin D.Roosevelt


ทฤษฎี Franklin D.Roosevelt  (FDR)

ทฤษฎีการจัดการภาครัฐ

1.  ประวัติความเป็นมา

 เป็นบุคคลแห่งศตวรรษที่ 20  เกิดเมื่อวันที่  13 มกราคม  ค.ศ. 1882 และเสียชีวิต เมื่อวันที่ 12 เมษายน  ค.ศ. 1945  สำหรับประวัติการทำงาน ค.ศ. 1910 – 1912 ดำรงตำแหน่งวุฒิสภาของรัฐนิวยอร์ก , ค.ศ. 1913 – 1920ดำรงแหน่ง ผู้ช่วยเลขานุการกองทัพเรือ , ค.ศ. 1928 – 1930 ดำรงตำแหน่งผู้ว่าการรัฐนิวยอร์ค  และ ค.ศ. 1933 – 1945 ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีคนที่ 32 แห่งสหรัฐอเมริกา และได้รับการเลือกตั้งเข้าดำรงตำแหน่งถึง 4 วาระ มากที่สุดในประวัติศาสตร์สหรัฐอเมริกา หลังจากเกิดสงครามโลกครั้งที่1 ส่งผลให้เกิดวิกฤติเศรษฐกิจ     ( The Great Depression) และหลังจาก Roosevelt ได้เข้าดำรงตำแหน่งเป็นประธานาธิบดี ค.ศ. 1932 และได้เข้ามาแก้ปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจที่รุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ของสหรัฐอเมริกาที่เรียกว่า The Great Depression ดังกล่าว  โดยการเสนอนโยบาย “สู่ความหวังใหม่” (New Deal) ความหมายของ Deal ใกล้เคียงกับสภาพการเมืองในยุคนั้น คือ “an arrangement for mutual advantage” หรือ การจัดการที่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ทุกฝายและเป็นการจัดการใหม่ที่ให้ความหวังแก่คน

2. นโยบาย New Deal ใช้เพื่อ

v ปฏิรูประบบเศรษฐกิจและสังคมในช่วงสภาวะวิฤกติเศรษฐกิจตกต่ำ เพื่อแก้ไขปัญหาด้านเศรษฐกิจและสภาพสังคมในขณะนั้นโดยทำให้แรงงานกับเจ้าของอุตสาหกรรมอยู่ด้วยกันอย่างกลมเกลียว

v ให้ประชาชนทุกชนชั้นอยู่ด้วยกันอย่างกลมเกลียวและสันติ เช่น ให้ชาวผิวขาวและชาวแอฟริกันอเมริกันอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติ และกลุ่มคนแรงงานกับเจ้าของอุตสาหรรมอยู่ด้วยกันอย่างกลมเกลียว

v ผลักดันให้เกิดองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศที่เรียกว่าองค์กรสหประชาติ

   
3. องค์ประกอบของ New Deal
3Rs
   Relief
         •จัดตั้งหน่วยงานต่างเพื่อการ   บรรเทาทุกข์แก่ประชาชนอย่างทั่วถึงและทุกชนชนอย่างโปร่งใส
    Recovery
         •ฟื้นฟูฐานะทางการเงินและตลาดหุ้น
        ฟื้นฟูอุตสาหกรรมและแรงงาน
        ฟื้นฟูด้านการเกษตร
   Refrom
      •ปฏิรูปเศรฐกิจ
     ปฏิบัติการเกษตร
     ปฏิรูปแรงงาน

4.  ข้อดีและข้อเสียของ New Deal
            ข้อดี       เป็นมาตรการที่ช่วยสร้างงานให้ประชาชนและผันเงินเข้าสู่ชนบท, มีความยืดหยุ่นในการบริหารจัดการ,  เป็นการจัดการที่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ทุกฝ่าย และเป็นการจัดการใหม่ที่ให้ความหวังแก่คนทั้งประเทศให้สู้กับสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ
            ข้อเสีย   เป็นการรวมศูนย์อำนาจเข้าสู้รัฐบาลกลางมากเกินไปและนโยบายหลายๆโปรแกรมไม่ใช่
แนวทางของอเมริกันตามกรอบของรัฐธรรมนูญ (www.pracob.blogspot.com/2010/04/blog-post_7577.html)

5.  ขั้นตอนของการจัดทำ

v วิเคราะห์ตามสภาวะเศรษฐกิจ โดยเร่งดำเนินการจัดทำในกรณีเร่งด่วนเป็นอันดับแรก

v  ประชุมคณะรัฐบาล และที่ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญแต่ละด้าน

v กำหนดนโยบายการบริหารจัดการตามวาระเร่งด่วน

v นำเสนอนโยบายต่างๆ เสนอต่อสภา

v นำนโยบายสู่ภาคปฏิบัติตามรัฐต่างๆ จากส่วนกลาง สู่ ท้องถิ่น อย่างทั่วถึงและโปร่งใส

6.  ใครนำเครื่องมือนี้ไปใช้บ้าง

ผู้นำของโลกหลายคน อาทิ นายกอร์ดอน บราวน์ นายกรัฐมนตรีของอังกฤษ ประธานาธิบดีของฝรั่งเศส นายนิโคลัส ซาร์โคซี่ นายบัน คี มูน เลขาธิการสหประชาชาติ รวมทั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา นายบารัค โอบามา กรีนนิวดีลหรือสร้างงานใหม่ด้วยธุรกิจเขียว สร้างระบบเศรษฐกิจใหม่ โดยลดการพึ่งพาพลังงานน้ำมันหันไปใช้พลังงานสะอาดช่วยสร้างอุตสาหกรรมและฟื้นฟูเศรษฐกิจโลก (www.arip.co.th)

7. กรณีศึกษา

การบริหารการศึกษาในระดับสถานศึกษาในสหราชอาณาจักรwww.mc.ac.th/ebook/pdf/4210019/pdf.pdf

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น