Lyndall Urwick
ประวัติความเป็นมา/แนวคิด
Lyndall
Urwick เกิดเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 1891
(พ.ศ. 2434) เป็นชาวอังกฤษ
สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีจาก Oxford ตามปกติเมื่อพูดถึง Urwick
ก็ต้องพูดถึง Gulick พร้อมๆกันเพราะผลงานของทั้งสองเป็นที่โด่งดังในเรื่อง
Organization Theory มีคำย่อออกมาสู่สายตาชาวโลก คือ POSDCoRB
Urwick เสียชีวิตเมื่อ 5
ธันวาคม 1983 (พ.ศ.
2526) แนวความคิดนี้ประยุกต์เพิ่มเติม มาจากแนวความคิดที่ปรมาจารย์ Henri
Fayol บัญญัติเอาไว้ โดยต่อยอดให้ชัดเจนขึ้น แนวความคิดจึงค่อนไปทางbureaucratic อยู่บ้าง องค์ประกอบของ POSDCoRB
· P = Planning การวางแผน
· O = Organizing การจัดองค์กร
· S = Staffing การจัดคนเข้าทำงาน
· D = Directing การสั่งการ
· Co =
Co-Ordinating การประสานงาน
· R = Reporting การรายงาน
· B = Budgeting การงบประมาณ
POSDCoRB
ใช้เป็นเครื่องมือบริหารงานครบวงจรของฝ่ายบริหารระดับสูง
เพื่อบริหารองค์กรอย่างมีระบบ โดยเริ่มจาก การวางแผน ตั้งเค้าโครงเป้าหมายที่จะทำ, จัดโครงสร้างองค์กร, จัดคนเข้าตามโครงสร้าง,
อำนวยการ สั่งการ ตามลำดับชั้น ให้งานเดินไปสู่เป้าหมาย
จากนั้นจะต้องมีการประสานงานระหว่างฝ่าย
แผนกต่างๆ ให้มีความต่อเนื่องกัน โดยมีการรายงานเพื่อให้ทราบผลการปฏิบัติงาน
และสุดท้ายมีงบประมาณไว้คอยควบคุมทางการเงินให้เป็นไปตามเป้าหมาย
ข้อดี:
· ครอบคลุมการบริหารงานทั้งองค์กร· ใช้ได้กับทุกยุคทุกสมัย ไม่ตกรุ่น
· เข้าใจง่าย ชัดเจน
· ใช้ได้กับองค์กรทุกประเภท
ข้อเสีย:
· ใช้ได้กับภาพรวมองค์กรเท่านั้น
· ต้องได้รับความร่วมมือทั้งองค์กร
POSDCoRB ใช้บริหารงาน.ให้มีประสิทธิภาพ โดยยึดหลักการแบ่งงานกันทำตามหน้าที่ ตามความถนัด
โดยแบ่งงานให้เป็นตามกระบวนการ วัตถุประสงค์ และหน่วยงานที่จะต้องจัดองค์กร โดยรูปแบบจะเป็นรูปสามเหลี่ยมปิรามิด
มีสายการบังคับที่ชัดเจน โดยมีกรอบงบประมาณป็นตัวควบคุม
ศาสตราจารย์ Luthes Gulick และศาสตราจารย์ LyndallUrwick ที่ได้นำหลักการจัดการของ
Fayol มาปรับปรุงประยุกต์กับการบริหารราชการ เขาได้เสนอแนะการจัดหน่วยงานในทำเนียบแก่ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาเพื่อให้ตอบคำถามว่า อะไรคืองานของประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ในที่สุดได้คำตอบสั้น ๆ คือ POSDCoRB
Model ซึ่งก็หมายถึงกระบวนการบริหาร 7 ประการ
ขอบคุณที่มาของข้อมูล
คุณชนินทร์ สุขสุวรรณ
รวบรวมโดย
นางสาวรุ่งลักษมี รอดขำDBA 04 มหาวิทยาลัยศรีปทุม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น