Robert E. Wood
เพื่อช่วยในการตัดสินใจ โดยใช้คณิตศาสตร์ สถิติและสารสนเทศเป็นเครื่องมือเพื่อแก้ปัญหาทางการจัดการ หลังสงความโลกการจัดการเชิงปริมาณได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายมากขึ้นในแวดวงธุรกิจ อย่างไรก็ตามการใช้การจัดการเชิงปริมาณยังคงใช้ได้เฉพาะปัญหาที่มีลักษณะเป็นแบบที่มีโครงสร้าง(structured problem) ทฤษฎีวิทยาการจัดการ เป็นวิธีการสมัยใหม่ในด้านการจัดการ ที่เน้นการใช้เทคนิคเชิงปริมาณอย่างเข้มงวด เพื่อช่วยให้ผู้จัดการทำการใช้ทรัพยากรองค์การ เพื่อผลิตผลิตภัณฑ์และบริการให้มากที่สุด ในส่วนประกอบที่สำคัญของทฤษฎีวิทยาการจัดการ คือการขยายการจัดการแบบวิทยาศาสตร์ให้มีความทันสมัย โดยการนำวิธีการเชิงปริมาณเพื่อวัดส่วนประสมของคนงานและงาน เพื่อให้ทีประสิทธิภาพสูงขึ้น
Robert E. Wood
ต่างพยายามสร้างเครื่องมือที่ใช้เป็นกฎเกณฑ์ทางการจัดการ ที่เป็นรูปธรรมขึ้นมา
แต่ช่วงนั้นได้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2
ขึ้นเสียก่อนในระหว่างสงครามโลกหน่วยงานทางทหารต้องเผชิญ
กับปัญหาที่มีความซับซ้อน
ทั้งในด้านการจัดระเบียบประชาชนและการส่งกำลังบำรุง
การจัดการเชิงประมาณ(Quantitative management)
เพื่อช่วยในการตัดสินใจ โดยใช้คณิตศาสตร์ สถิติและสารสนเทศเป็นเครื่องมือเพื่อแก้ปัญหาทางการจัดการ หลังสงความโลกการจัดการเชิงปริมาณได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายมากขึ้นในแวดวงธุรกิจ อย่างไรก็ตามการใช้การจัดการเชิงปริมาณยังคงใช้ได้เฉพาะปัญหาที่มีลักษณะเป็นแบบที่มีโครงสร้าง(structured problem) ทฤษฎีวิทยาการจัดการ เป็นวิธีการสมัยใหม่ในด้านการจัดการ ที่เน้นการใช้เทคนิคเชิงปริมาณอย่างเข้มงวด เพื่อช่วยให้ผู้จัดการทำการใช้ทรัพยากรองค์การ เพื่อผลิตผลิตภัณฑ์และบริการให้มากที่สุด ในส่วนประกอบที่สำคัญของทฤษฎีวิทยาการจัดการ คือการขยายการจัดการแบบวิทยาศาสตร์ให้มีความทันสมัย โดยการนำวิธีการเชิงปริมาณเพื่อวัดส่วนประสมของคนงานและงาน เพื่อให้ทีประสิทธิภาพสูงขึ้น
สำหรับส่วนประกอบที่สำคัญของทฤษฎีวิทยาการจัดการ คือ
การขยายการจัดการแบบวิทยาศาสตร์ ให้มีความทันสมัย
โดยการนำวิธีการเชิงปริมาณเพื่อวัดส่วนประสมของคนงานและงาน
เพื่อให้ทีประสิทธิภาพสูงขึ้น แบ่งเป็น 4 กลุ่ม
1. การจัดการเชิงปริมาณ (Quantitative
management) โดยใช้เทคนิคคณิตศาสตร์ เช่น
โปรแกรมเชิงเส้นตรงและไม่ใช่เส้นตรง (linear and nonlinear programming) ตัวแบบ (modeling) แบบจำลองสถานการณ์
(simulation) และทฤษฎีแถวคอย (queuing theory) เป็นต้น ทั้งนี้ เพื่อช่วยในการตัดสินใจของผู้จัดการ
2. การจัดการการดำเนินการผลิต (Operations
management) ซึ่งประกอบด้วย เทคนิคต่าง ๆ
ที่ผู้จัดการสามารถนำไปใช้ในการวิเคราะห์ลักษณะระบบการผลิตขององค์การเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ
เช่น แบบจำลองสินค้าคงคลัง(inventory model)
และแบบจำลองเครือข่าย(network model)
เพื่อปรับปรุงการตัดสินใจปัญหาการจัดจำหน่ายและการดำเนินการ
3. การจัดการคุณภาพโดยรวม (Total
Quality Management:TQM) เป็นการจัดการคุณภาพของหน่วยงานในองค์การทั้งหมด ซึ่งประกอบได้ด้วยฝ่ายต่างๆ
ที่ผู้จัดการสามารถนำเทคนิคต่าง ๆ
ไปใช้ในการวิเคราะห์ระบบการผลิตในองค์การเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ
เช่นแบบจำลองสินค้าคงคลัง(inventory model)
และแบบจำลองเครือข่าย(network model)เพื่อปรับปรุงการตัดสินใจปัญหาการจัดจำหน่าย
โดยะเน้นการวิเคราะห์ปัจจัยนำเข้าในกระบวนการเพื่อแปรสภาพให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพของผลิตภัณฑ์
4. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (management
information systems) เป็นวิธีการที่ช่วยให้ผู้จัดการออกแบบระบบสารสนเทศ
เพื่อจัดสารสนเทศเกี่ยวกับเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นทั้งภายในและภายนอกองค์การ
เพื่อประกอบการตัดสินใจให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิผล
ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการยังช่วยให้ผู้จัดการและบุคลากรในระดับต่างๆ
ได้รับสารสนเทศที่จำเป็นต่อการนำไปใช้ประโยชน์และมีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจอย่างไรก็ตามในการนำทฤษฎีวิทยาการจัดการไปใช้ประโยชน์นั้น
ในปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศ(information technology)ได้เข้ามามีส่วนในการปรับปรุงคุณภาพการตัดสินใจและเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลขององค์การได้เป็นอย่างดี
และถือว่าเป็นส่วนสำคัญในการเพิ่มความได้เปรียบในการแข่งขันให้กับองค์การ
รวบรวมโดย
นางสาวรุ่งลักษมี รอดขำ
DBA 04 มหาวิทยาลัยศรีปทุม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น